ข่าวสาร (บทวิเคราะห์สภาพอะคูสติก Jubilee Hall, โบสถ์ Saint Ita, Chicago, IL, USA ฤดูใบไม้ร่วง เช้าวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2548)

         โบสถ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่มุมถนน Broadway และ Catalpa ในย่าน Edge Water โครงสร้างเป็นปูนซีเมนต์สีเทาบริสุทธิ์และมีหน้าต่างสูง ขนาดภายในของโถงโดยประมาณ คือ 12 x 30 x 10 เมตร (ก x ย x ส) ม้านั่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งเคลือบ (lacquered hardwood) มีประมาณ 30 แถว เรียงจากด้านหน้าถึงหลัง แต่ละแถวจากซ้ายไปขวาสามารถนั่งได้ประมาณ 16 (ตัวใหญ่หน่อย) – 20 (ตัวเล็กหน่อย) คน ดังนั้นความจุโดยรวมอยู่ระหว่าง 500 – 600 คน โดยประมาณ ราว 30% ของผนังด้านข้างเป็นไม้เนื้อแข็งเคลือบเช่นเดียวกับม้านั่ง ส่วนที่เหลือของกำแพงไปจนถึงเพดานเป็นซีเมนต์ทาสี พื้นเป็นปูนซีเมนต์
 
          ห้องมีเสียงก้อง (reverberation) ประมาณ 2 วินาที ซึ่งทำให้ห้องมีลักษณะ “wet” มาก (มีเสียงก้องสะท้อนหนัก) ซึ่งเป็นคุณลักษณะปกติของโบสถ์อยู่แล้วไม่ว่าที่ไหน สืบเนื่องจากเป็นวัฒนธรรมทางศาสนาในการสร้างโบสถ์นั่นเอง หางของเสียงก้องนั้นประกอบไปด้วยชั้นเสียงดีเลย์ระดับปานกลาง (layered medium delay) ยาวประมาณ 100 millisecond (MS) หลายๆเสียง หรือในที่นี้คือกลายเป็น Echo (เสียงสะท้อน) ไปแล้วนั่นเอง
 
          แม้ว่าเสียงพูดสื่อสารของบาทหลวงนั้นยังสามารถเข้าใจได้ แต่ก็ออกจะน่ารำคาญนิดหน่อย เมื่อทุกเสียงที่เปล่งออกมานั้นจะได้ยินแบบค่อยๆเฟดลดระดับลง (trail off) ในทุกคำพูด จากการสังเกตุเบื้องต้นนั้น การที่โบสถ์มีหลังคาโดมตรงกลางซึ่งพื้นผิวนั้นเป็นซีเมนต์ซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนเสียงสูง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนลำโพงขยายเสียงขนาดใหญ่ ทำให้ทุกเสียงที่วิ่งไปชนผนังของโดมนั้นสะท้อนกลับมาในสภาพ echo เนื่องจาก mean free path (เส้นทางอิสระเฉลี่ย) นั้นยาวถึงประมาณ 9 เมตร และนั่นทำให้ 2nd-3rd-degree reflection (เสียงสะท้อนครั้งที่ 2 – 3) ที่วิ่งมาถึงผู้ฟังนั้นกลายเป็นเสียงสะท้อนแบบ echo เป็นลูกๆเลย ถึงอย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า “liveness” ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับโบสถ์อยู่ดี เมื่อฟังเสียงออร์แกนที่เล่นในโบสถ์นั้นทำให้รู้สึกได้ว่ามีความแน่นและอิ่ม เพิ่มความนวลไพเราะให้กับเสียงดนตรีออร์แกนนั้นเป็นอย่างดี เสียงก้องนั้นเพิ่มหางเสียงให้กับออร์แกนและทำให้ห้องนั้นอบอวลไปด้วยเสียงดนตรีออร์แกนเหมาะสมกับกิจทางศาสนา

          สรุปได้ว่า แม้ Jubilee Hall ของโบสถ์ Saint Ita นั้นจะมีความก้องสะท้อนเยอะแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องไม่ดีหรือควรได้รับการปรับอะคูสติก (acoustic treatment) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของสิ่งก่อสร้างนั่นเอง ซึ่งในเคสนี้เป็นโบสถ์ที่มีการเล่นออร์แกน ซึ่งเสียงก้องนั้นเอื้อให้การฟังออร์แกนนั้นมีความไพเราะเป็นอย่างมาก

          ในขณะเดียวกัน ระบบเสียงควรที่จะออกแบบให้เสียงพูดนั้นได้รับการขยายและพุ่งไปยังผู้มาโบสถ์โดยเฉพาะ และหลีกเลี่ยงการตั้งทิศทางเสียงให้พุ่งไปชนกำแพงหรือพื้นผิวที่สะท้อนตรงๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการไปกระตุ้นห้อง (excite the room) ได้

 ติดตามแนวคิดการออกแบบระบบเสียงต่อไป ได้ที่ Facebook Page ของเรา
 

บทความอื่นๆ

Blog

งานกรุประตูโรงหนัง House Samyan Mitrtown

งานกรุประตูโรงหนัง House Samyan ที่ตึกสามย่านมิตรทาวน์ หรือเดิมทีคือ “House RCA” พึ่งจะทำการสร้างเสร็จ พร้อมย้ายและเปิดตัวโรงหนังอย่างเป็นทางการไปเมื่อ 26 กันยายน 2562 ให้ผู้คนที่สนใจเข้าชมภาพยนตร์อิสระ หรือ “หนังอินดี้” “หนังนอกกระแส” แวะเวียนเข้ามาชมได้ รายงานการวัดค่าเสียง (Noise Measurement): – ความดังเสียงสูงสุด (Maximum peak) คือ

Read More »
Blog

งานรับเหมาปรับปรุงห้องชมรมดนตรี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

งานเปลี่ยนจากห้องเอนกประสงค์เป็นห้องชมรมดนตรี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ทางร้านเซ้นส์ดีได้รับความไว้วางใจจากทางคณะอาจารย์ให้เข้ารับเหมาปรับปรุงห้อง พร้อมกรุผนังกั้นเสียง และทำการซับเสียงภายในห้อง เพื่อรองรับการซ้อมดนตรีของนักศึกษาแพทย์ ตอนเย็นถึงค่ำหลังจากที่ไม่มีการเรียนการสอนแล้ว

Read More »