งานจำลองหาการครอบคลุม (Sound Coverage) และการกระจายระดับเสียง (dB-SPL Distribution) ของระบบเสียงภายในห้องโถงนิทรรศการ (Exhibition Hall)

สืบเนื่องมาจากว่าทางลูกค้าต้องการที่จะทราบอย่างเป็น + เห็นรูปธรรมว่าระบบเสียงที่ทางร้านเซ้นส์ดีนั้นได้ออกแบบไปให้นั้น ครอบคลุมพื้นที่ภายในโถงนิทรรศการ (Exhibition Hall) หรือไม่ ด้วยระบบลำโพงรุ่นที่ทางร้านตั้งใจออกแบบให้นั้นมี software ที่ช่วยในการออกแบบและสามารถจำลองระดับความดังเสียงได้ ทางร้านจึงนำแปลนของห้องมา mapping (ใส่เข้าไปใน software) และทำการ simulate หรือ จำลองระดับเสียงออกมาเพื่อประกอบการนำเสนอลูกค้า เพื่อเป็นการยืนยันว่าระบบลำโพงที่ทางร้านจะจัดชุดให้นั้นมีความดังโดยเฉลี่ยที่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ รูปภาพที่ 1 นั้นคือปริมาณของเสียงตรง (direct sound) ไปยัง audience area หรือพื้นที่ผู้ฟัง

รูปภาพที่ 1

 

รูปภาพที่ 2 นั้น แสดงให้เห็นถึงระดับ Sound-Pressure-Level (SPL) distribution หรือการกระจายระดับเสียงนั้นอยู่ประมาณระหว่าง Min, Max Lp = 102, 110 dB โดยที่ระดับเสียงโดยเฉลี่ย (Mean Value Lp) นั้น อยู่ที่ประมาณ = 106 dB ซึ่งถือว่าค่อนข้างดังพอที่จะแข่งกับเสียงรบกวนพื้นหลัง (background noise) ได้แม้เสียงรบกวนพื้นหลังจะมีค่าดังถึง 90 dB-SPL

นั่นหมายความว่าในสถานการณ์หรือ scenario ที่มีคนเต็มห้อง และความดังของเสียงรบกวนพื้นหลังอาจจะดังถึง 90 – 96 dB-SPL แต่ระบบลำโพงของทางร้านก็ยังสามารถเร่งให้ดังเกินกว่าเสียงรบกวนพื้นหลัง (above background noise) ได้ไม่น้อยกว่าร่วม 10 dB-SPL ซึ่งถือว่าค่อนข้างมากพอที่จะสร้างความชัดเจนและความดังผ่านระบบเสียง (sound reinforcement system) ได้แล้ว

 

รูปภาพที่ 3 นั้นแสดงให้เห็นว่าความดังของเสียง (ในบางกรณีอาจจะถูกเรียกว่า “ความเข้มของเสียง”) อยู่ในบริเวณกลางๆห้อง ส่วนบริเวณโดยรอบ หรือ parameter นั้นความดังเสียงได้ถูกลดทอนลงมา เนื่องจากไม่อยู่ในบริเวณแกนเสียงของลำโพง (off-axis) ดังเห็นได้จากสีแดงที่มีโทนอ่อนกว่า แตกต่างและลดหลั่นลงมา

ทั้งนี้ต้องหมายเหตุไว้นิดนึงว่า รูปภาพที่ 1 และ รูปภาพที่ 3 นั้น มีตำแหน่งการวางระบบชุดลำโพงที่แตกต่างกัน หากแต่ใช้ลำโพงรุ่นเดียวกัน ต่างกันนิดหน่อยตรงระบบลำโพงขับเสียงต่ำ (low-ends, low-frequencies, หรือ เรียกง่ายๆว่า “lows”)

อย่างไรก็ตาม การวางระบบชุดลำโพงทั้ง 2 แบบนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ยังก่อให้เกิดความดังในปริมาณที่มากพอที่จะครอบคลุมเกินกว่า 90% ของพื้นที่ผู้ฟังแล้ว และนั่นหมายความว่าระบบลำโพงชุดนี้นั้นตอบโจทย์เรื่องของความดังแล้ว ที่เหลือเป็นเรื่องของการปรับแต่งเสียงโดยละเอียดอีกทีหน้างาน

 

รายละเอียด:
– ลำโพงใน SPL-Simulation ชุดนี้คือ; – Nexo = GEO S1210 ST, GEO S1230 ST, LS-18
– Simulation Software = Nexo NS-1 สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

 

บทความอื่นๆ

Blog

งานซับเสียงโถงนั่งเล่นบ้านคุณเค

งานนี้ลูกค้า – คุณเค ต้องการที่จะลดเสียงก้องภายในโถงนั่งเล่นของครอบครัวลงด้วยความที่คุณเคมีความคุ้นเคยกับสภาพอะคูสติกของห้องอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นพอสมควร เนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ช่วงเวลานึง ซึ่งโดยมากห้องของบ้านเรือนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีพื้นผิวส่วนที่เป็นผิวแข็งน้อย และประกอบไปด้วยพื้นผิวนิ่ม เช่น เสื่อทาทา…

Read More »
Blog

งานซับเสียงห้องทำงาน บริษัท i-secure

หลังจากที่ทางทีมงานเซ้นส์ดีได้ทำการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงก้องให้กับห้องประชุม huddle space ที่มีการใช้ระบบ video-conference ไปแล้ว ทางร้านเซ้นส์ดีก็ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า i-secure ให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงก้องในห้องทำงานของผู้บริหารต่อเนื่องไปด้วยเลย เนื่องจากทางผู้บริหารก็มีการใช้งานระบบ video-conferencing อยู่ตลอด

Read More »