ช่วงที่ธุรกิจส่งอาหารและส่งของ (food delivery / logistics) เริ่มที่จะออกดอกออกผลและบูมมาก บริษัท start-up รายใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่ใช้ออนไลน์แพลตฟอร์ม (online platform) มาเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ขาย (supplier) และผู้ซื้อ (customer) เข้าด้วยกันผ่านการใช้แอปพลิเคชัน (application) บนสมาร์ทโฟน (smartphone) ซึ่งเรียกว่าเป็นออนไลน์แพลตฟอร์มตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวบริหารจัดการคิวงาน (การรับ/การส่งออเดอร์ต่างๆ) คอยประสานหาเจ้าของยานพาหนะที่ว่างอยู่ แต่อยากนำยานพาหนะนั้นมาใช้ให้เกิดรายได้เสริม มาช่วยขับขี่เพื่อส่งอาหาร สิ่งของ หรือ ผู้โดยสาร
คนจำนวนไม่น้อยที่หันมาจับอาชีพ “ขับแกร็บ” เป็นอาชีพหลักเลยด้วย ดังนั้นจากการที่ Grab ประเทศไทย โดยการเป็น start-up เจ้าแรกๆที่ประเดิมสนามธุรกิจนี้ในประเทศไทย จึงทำให้แบรนด์ “Grab” นั้นค่อนข้างแข็งแรงมากๆแล้ว ณ ช่วงเวลานั้น ช่วงปีนี้จึงถือเป็นช่วงปีที่มีคนเข้ามาสมัครเป็น “ไรเดอร์” (rider) และ “ขับแกร็บ” เยอะมาก ดังนั้นการที่มีคนเข้ามาสมัครเยอะๆ ทีละมากๆนั้น จึงทำให้พื้นที่พักคอยนั้นค่อนข้างวุ่นวาย ยุ่ง (busy) และทำให้ขั้นตอนการสมัครเป็นไรเดอร์นั้นยืดเยื้อและอาจจะ “น่าเบื่อ” (boring)
ประเด็นหลักๆที่ลูกค้า (Grab ประเทศไทย) ประสบอยู่ ณ ขณะนั้นคือการขานเรียกคิวโดยไม่มีเครื่องขยายเสียงคุณภาพดีที่ให้การครอบคลุมเสียงได้อย่างทั่วถึง (โถงที่พักคอยประมาณ 360 ตร.ม. หรือ กว้าง x ลึก = 12 x 30 เมตร) และการไม่มีเสียงเพลงพื้นหลัง [Background Music, (BGM)] ให้กับพื้นที่พักคอยเลย ทำให้บรรยากาศในการมาสมัครเป็นไรเดอร์นั้นค่อนข้างน่าเบื่อหน่าย เพราะคนเยอะและไม่มีความบันเทิงใดๆระหว่างนั่งรอคิว นอกจากสมาร์ทโฟนของตัวเอง กับจอทีวี 3 จอที่เปิดวนเรื่องราวของ Grab ประเทศไทยที่ไม่สามารถเล่นเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ นอกจากนั้นการประชุมพบปะระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับพนักงาน หรือ “townhall meeting” นั้นก็ดูจะยังไม่เข้ารูปเข้ารอยสักทีเดียว เนื่องจากขาดระบบเสียง
ดังนั้นจากการทำ “Needs Analysis” หรือรับความต้องการของลูกค้า ก็เป็นอันชัดเจนว่าระบบภาพและเสียงที่ลูกค้าต้องการนั้นคือ 3 ระบบหลักๆ:
1. Public Address System (PA system) หรือ “ระบบประกาศ” ที่จะใช้ในการขานเรียกคิว และรองรับการทำ townhall meeting
2. Background Music System (BGM system) หรือ “ระบบเพลงพื้นหลัง” สำหรับผู้ที่มาสมัครเป็นไรเดอร์หรือติดต่อเรื่องอื่นๆ
3. ระบบจอภาพ 3 จอ ที่สามารถนำเลขคิวขึ้นแสดง หรือแสดงสื่อภาพและเสียงต่างๆที่ส่งผ่านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเข้าที่ระบบภาพและเสียงเพื่อกระจายต่อไปยังจุดต่างๆ (destinations) เช่น ลำโพง จอทีวี ฯลฯ ได้
ขั้นตอนการทำงานจึงเริ่มที่การตรวจสอบหน้างาน (site-survey) หาแนวเดินท่อและสายต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดจุดติดตั้งตู้แร็ค
จากนั้นจึงทำการออกแบบแผนภาพบล็อก (block-diagram) พร้อมทั้งกำหนดการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน
จากนั้นจึงจะได้ระบบที่สามารถทำการ “เข้าระบบ” หรือ “combine/system integration” จริงได้
BOM (Bill Of Material) ของงานนี้มีดังต่อไปนี้:
1. Sennheiser = XSW1-825 = ไมโครโฟนไร้สาย x 1 เครื่อง
2. Pioneer = DV-3052V = เครื่องเล่นซีดี/ดีวีดีพร้อมช่องสัญญาณเสียงแอนะล็อกเอาท์ x 1 เครื่อง
3. Nexis = FE-050 T-R = เครื่องรับส่งสัญญาณ HDMI ระยะไกล x 1 คู่
4. Ugreen = 40281 = เครีิ่องแยกเสียงออกจากสาย HDMI x 2 ตัว
5. Audac = COM12MK2 = เครื่องขยายเสียงตามสาย (Public Address Amplifier) x 1 เครื่อง
6. Audac = ATEO4/B = ลำโพงตู้ 2-ทางแบบสวยงาม สีดำ x 4 ใบ