ตัวอย่างการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบอะคูสติกของหอประชุมโรงแรม

*ภาพข้างต้นสำหรับแสดงไว้เป็นตัวอย่างของการทำ sound simulation เท่านั้น ไม่ใช่การจำลองของห้องที่อยู่ในรายงานข้างล่างนี้

รายงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบอะคูสติกของหอประชุมโรงแรมแห่งหนึ่ง

จากแบบที่ได้รับมา ลักษณะของห้องเป็นไปตามนี้:

  1. เป็นห้องหรือโถงสำหรับการประชุม
  2. มีเวทีแบบเคลื่อนย้าย (movable stage) อยู่หน้าห้อง
  3. หลังเวทีเป็นห้อง AHU และ บันได
  4. หลังห้องมีโถงพักคอย (pre-function) และทางเดิน service
  5. เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง x ยาว = 20 ม. x 48 ม. 
  6. หลังคาเมทัลชีทเอียงลาดลง ซ้อนกัน 2 ระดับโดยมีลักษณะเป็นรูปทรงจั่ว
  7. ความสูงจากพื้นห้องถึงฝ้าที่ต่ำที่สุดประมาณ 3 ม. 
  8. ความสูงจากพื้นห้องถึงหลังเมทัลชีทด้านบนสุดประมาณ 8.4 ม. 
  9. ใต้หลังคาเมทัลชีทเป็นฝ้า gypsum board (จากแบบไม่ชัดเจนว่าระบบฝ้าเป็นอย่างไร เช่น เรียบหมดหรือเอียงทำมุมหรือเปล่า)
  10. ไม่มีแบบงานระบบปรับอากาศและไฟฟ้าแสงสว่าง (มีผลต่อเสียงเล็ดรอดจากหลังคาลงมาได้)
  11. ผนังด้านข้างเป็นกระจกเกือบทั้งหมด (80%-90%) ของพื้นที่ผนัง
  12. พื้นที่เป็นพรมหนา
ประเด็นทางเสียงและอะคูสติกส์ที่อาจจะเกิดขึ้น และตั้งข้อสังเกตุ คือ:

  1. ระหว่างฝนตก ระดับ noise-floor หรือ NC curve ของห้องอาจจะสูงเกินระดับที่เหมาะสมสำหรับห้องโถงประชุมเนื่องจากเพดานเมทัลชีทหรือเปล่า?
  2. ระหว่างการใช้ห้องปกติ โดยที่ระบบต่างๆเปิดทำงานทั้งหมด ระดับ noise-floor อยู่ที่เท่าไร?
  3. หลังคาเมทัลชีทอาจส่งเสียงดังเมื่อเวลาฝนตก ผ่านช่องทางเหล่านี้:
    1. ลงมาตรงๆในแนวดิ่งจากหลังคาลงมายังพื้นห้อง
    2. อ้อมลงมาจากทางขนาบข้างของห้อง ซึ่งผ่านผนังกระจกเข้ามา
    3. อ้อมเข้ามาจากทางหลังเวที ผ่านห้อง AHU และ บันไดหนีไฟเข้ามา
    4. อ้อมเข้ามาทางโถงพักคอย (pre-function) ผ่านผนังและประตูเข้ามา
    5. รั่วเข้ามาผ่านช่องแอร์หรือมาตามท่อแอร์
    6. รั่วลงมาผ่านช่องไฟฟ้าแสงสว่างหรือรูเจาะผ่านฝ้าต่างๆ
  4. เสียงแอร์อาจจะช่วยทำการ “พราง” หรือ “masking” เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทได้ ขึ้นอยู่กับระดับ noise-floor ของห้องเวลาฝนตก เทียบกับระดับเสียง noise ของระบบแอร์
  5. ค่า RT60 ภายในห้องอยู่ที่กี่วินาที?
  6. ระบบลำโพงต้องใช้ชนิดที่มี directivity สูงหรือเปล่า หรือมีทิศทางที่สามารถโฟกัสเสียงได้อย่างดี โดยที่ไม่กระตุ้นห้อง?
แนวทางการแก้ไข:
  1. ระหว่างฝนตก ระดับ noise-floor หรือ NC curve ของห้องอาจจะสูงเกินระดับที่เหมาะสมสำหรับห้องโถงประชุมเนื่องจากเพดานเมทัลชีทหรือเปล่า?
    1. ให้ทำการปิดกั้นเสียงจากรอบด้านไม่ให้เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทรั่วเข้ามาได้จากผนังหรือจุดใดจุดหนึ่ง
  2. ระหว่างการใช้ห้องปกติ โดยที่ระบบต่างๆเปิดทำงานทั้งหมด ระดับ noise-floor อยู่ที่เท่าไร?
    1. ต้องทำการชี้ตำแหน่งของระบบต่างๆเช่น ระบบแอร์ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และ/หรือระบบอื่นๆที่ก่อให้เกิดเสียง และทำการกรุและติดตั้งฉนวนกักเก็บเสียง เพื่อลดให้ noise-floor นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด เพื่อไม่ให้รบกวนการสื่อสารภายในห้อง ทั้งนี้ยกเว้นระบบแอร์ซึ่งอาจจะช่วยในเรื่อง “พราง” (masking) เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทได้ แต่ในการติดตั้งระบบแอร์ควรจะต้องมีการคาดคะเนความดังของเสียงที่เกิดจากระบบแอร์ ซึ่งอาจจะอิงจากโครงการอื่นที่ติดตั้งระบบแอร์แบบเดียวกันนี้ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการคำนวณว่า noise-floor จริงๆนั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะอยู่ที่กี่ dB และ เป้าหมาย target NC curve นั้นจะอยู่ที่กี่ dB และความดังของระบบแอร์นั้นจะพอช่วย masking เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทได้ไหม เช่น ถ้าระบบแอร์มีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ในระดับประมาณ 55-65 dB (broadband frequencies) นั่นหมายความว่าควรที่จะกั้นเสียงฝนตกไม่ให้ดังเข้ามาเกิน 45-55 dB (broadband frequencies) เป็นต้น
  3. หลังคาเมทัลชีทอาจส่งเสียงดังเมื่อเวลาฝนตก ผ่านช่องทางเหล่านี้:
    1. ลงมาตรงๆในแนวดิ่งจากหลังคาลงมายังพื้นห้อง
      1. พ่นฉนวนโฟมพียู (P.U. Foam) ภายใต้หลังคาเมทัลชีท เพื่อเพิ่มความหนาของเมทัลชีทซึ่งความเบาบางของเมทัลชีทคือตัวที่ทำให้เกิดเสียงดังเวลาเม็ดฝนตกลงมากระทบ
      2. ติดตั้งฝ้าประมาณ 8-10 มม. ซ้อนกัน 2 ชั้นติดกัน เพื่อกั้นเสียงผ่าน (จากแบบมีฝ้า gypsum board ชั้นเดียว)
      3. วางฉนวนกั้นเสียงจำพวกใยโพลีเอสเตอร์ (polyester) หนา 50 มม. ให้เต็มพื้นที่ ไว้เหนือฝ้า 8-10 มม. ที่ซ้อนกัน 2 ชั้น
    2. อ้อมลงมาจากทางขนาบข้างของห้อง ซึ่งผ่านผนังกระจกเข้ามา
      1. ใช้ผนังกระจกชนิด double glass ที่ใช้กั้นเสียง เพื่อไม่ให้เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทอ้อมผ่านกระจกเข้ามาทางด้านข้างของห้อง แล้วใส่สารกันชื้นระหว่างแผ่นกระจก
    3. อ้อมเข้ามาจากทางหลังเวที ผ่านห้อง AHU และ บันไดหนีไฟเข้ามา
      1. กรุผนังฝั่งหลังเวทีด้วยฉนวนกั้นเสียง เช่น ใยโพลีเอสเตอร์ (polyester) หนา 50 มม. โดยทำเป็นระบบแซนด์วิชที่ฉนวนอยู่ตรงกลางแล้วมีผนังประกบข้าง
      2. ประตูและหน้างต่างให้ใช้แบบพิเศษชนิดกั้นเสียง เพื่อไม่ให้เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทรั่วเข้ามาภายในห้องได้
    4. อ้อมเข้ามาทางโถงพักคอย (pre-function) ผ่านผนังและประตูเข้ามา
      1. ในกรณีที่ ผนังเอื้อให้ทำระบบผนังแซนด์วิชได้ (ฉนวนอยู่ตรงกลาง) กรุผนังฝั่งหลังเวทีด้วยฉนวนกั้นเสียงเช่นใยโพลีเอสเตอร์ (polyester) หนา 50 มม. โดยทำเป็นระบบแซนด์วิชที่ฉนวนอยู่ตรงกลางแล้วมีผนังประกบข้าง
      2. ในกรณีที่เป็นกระจก ให้ใช้ระบบ double glass กั้นเสียง แล้วใส่สารกันชื้นระหว่างกลาง
      3. ประตูและหน้างต่างให้ใช้แบบพิเศษชนิดกั้นเสียง 
    5. รั่วเข้ามาผ่านช่องแอร์หรือมาตามท่อแอร์
      1. ควรที่จะกรุภายในท่อแอร์เพื่อลดทอนเสียงที่จะผ่านเข้ามาทางท่อแอร์ ซึ่งนั่นจะช่วยป้องกันเสียงจากภายนอกได้ ส่วนช่องแอร์ที่อยู่ในห้องนั้นอาจจะเกิดเสียงลมได้ซึ่งอาจจะช่วยเรื่อง masking เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทได้
    6. รั่วลงมาผ่านช่องไฟฟ้าแสงสว่างหรือรูเจาะผ่านฝ้าต่างๆ
      1. ระบบไฟแสงสว่างจะต้องไม่เจาะฝ้าให้เป็นรูรั่ว เนื่องจากเสียงรบกวนจากภายนอกจะวิ่งผ่านเข้ามาได้
  4. เสียงแอร์อาจจะช่วยทำการ “พราง” หรือ “masking” เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทได้ ขึ้นอยู่กับระดับ noise-floor ของห้องเวลาฝนตก เทียบกับระดับเสียง noise ของระบบแอร์
    1. ควรที่จะกรุภายในท่อแอร์เพื่อลดทอนเสียงที่จะผ่านเข้ามาทางท่อแอร์ ซึ่งนั่นจะช่วยป้องกันเสียงจากภายนอกได้ ส่วนช่องแอร์ที่อยู่ในห้องนั้นอาจจะเกิดเสียงลมได้ซึ่งอาจจะช่วยเรื่อง masking เสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทได้ เช่น ถ้าระบบแอร์มีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ในระดับประมาณ 55-65 dB (broadband frequencies) นั่นหมายความว่าควรที่จะกั้นเสียงฝนตกไม่ให้ดังเข้ามาเกิน 45-55 dB (broadband frequencies) เป็นต้น นั่นก็จะทำให้ได้ค่าเป้าหมาย (target value) ที่ควรจะเป็นนั่นเอง
  5. ค่า RT60 ภายในห้องอยู่ที่กี่วินาที?
    1. เนื่องจากผนังเป็นกระจก (หรือ double glass ตามแนะนำ) นั่นอาจจะทำให้ค่า RT60 นั้นสูงพอสมควร จึงควรต้องมีการทำการจำลองห้องในซอฟแวร์ จึงจะทำให้คาดคะเนได้ว่าระบบลำโพงที่จะใช้นั้นควรจะเป็นแบบใด ซึ่งนี้จะเป็นตัวช่วยในเรื่องของอะคูสติกส์ให้ได้ตรงตามจุดประสงค์ของห้อง นั่นก็คือการประชุมผ่านการสื่อสารที่ชัดเจนนั่นเอง ซึ่งแม้ว่าเสียงฝนตกกระทบเมทัลชีทนั้นอาจะป้องกันได้ 50% แต่ด้วยระบบเสียงที่ถูกประเภทก็จะช่วยให้ปัญหาทางด้านอะคูสติกส์นั้นกลายเป็นเรื่องรองได้
  6. ระบบลำโพงต้องใช้ชนิดที่มี directivity สูงหรือเปล่า หรือมีทิศทางที่สามารถโฟกัสเสียงได้อย่างดี โดยที่ไม่กระตุ้นห้อง?
    1. ด้วยขนาด ปริมาตร (ประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตร) และลักษณะของห้อง สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ระบบลำโพงไลน์อาเรย์ (line array) และไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ลำโพงแบบ point source

บทความอื่นๆ

Blog

งานกรุประตูโรงหนัง House Samyan Mitrtown

งานกรุประตูโรงหนัง House Samyan ที่ตึกสามย่านมิตรทาวน์ หรือเดิมทีคือ “House RCA” พึ่งจะทำการสร้างเสร็จ พร้อมย้ายและเปิดตัวโรงหนังอย่างเป็นทางการไปเมื่อ 26 กันยายน 2562 ให้ผู้คนที่สนใจเข้าชมภาพยนตร์อิสระ หรือ “หนังอินดี้” “หนังนอกกระแส” แวะเวียนเข้ามาชมได้ รายงานการวัดค่าเสียง (Noise Measurement): – ความดังเสียงสูงสุด (Maximum peak) คือ

Read More »
Blog

งานรับเหมาปรับปรุงห้องชมรมดนตรี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

งานเปลี่ยนจากห้องเอนกประสงค์เป็นห้องชมรมดนตรี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ทางร้านเซ้นส์ดีได้รับความไว้วางใจจากทางคณะอาจารย์ให้เข้ารับเหมาปรับปรุงห้อง พร้อมกรุผนังกั้นเสียง และทำการซับเสียงภายในห้อง เพื่อรองรับการซ้อมดนตรีของนักศึกษาแพทย์ ตอนเย็นถึงค่ำหลังจากที่ไม่มีการเรียนการสอนแล้ว

Read More »