วัดระดับความดังเสียงต่างๆ ภายในห้องเครื่องของโรงงานอาหารสัตว์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดระดับความดังเสียงต่างๆ ภายในห้องเครื่องของโรงงานอาหารสัตว์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

สภาพแวดล้อมของการวัด (test environment) และวิธีการเรียบเรียงการวัด (test methodology):

การวัดเสียงมีขึ้นระหว่างเวลา 13.30 น. – 15.00 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562

 
– เครื่องวัดเสียงได้มาตรฐาน IEC-61672 Class 1
– ตั้งเครื่องวัดที่ระดับความสูง 1.25 ซม.
– วัดเสียงของห้องเครื่อง 2 ห้อง ขณะที่ห้องเครื่องทำงาน
– ตำแหน่งในการวัด:
1. กลางห้องเครื่อง
2. หน้าประตูห้องเครื่อง

– ชนิดของค่าเสียงที่วัดตามจุดต่างๆ:
1. dB-SPL (A-weight)
2. Noise Curve (NC)
3. Real-Time-Analysis (RTA)

ปัญหาและประเด็นที่ควรได้รับการปรับปรุง:

1. เสียงจากภายในห้องเครื่องมีระดับเสียงที่สูงมากและเสียงออกมาภายนอกห้องเครื่องมากกว่าที่ควรจะเป็น
2. ค่า Noise Criteria มีค่าที่สูงเกิน
3. ความถี่ที่มีช่วงระดับความดังมากในห้องเครื่องที่ 1 คือ 200Hz และ 400Hz
4. ความถี่ที่มีช่วงระดับความดังมากในห้องเครื่องที่ 2 คือ 100 Hz, 200 Hz, 630 Hz และ 1250 Hz

สภาพอะคูสติกของห้องปัจจุบัน:
1. Sound Pressure Level (SPL) – เป็นค่าที่ไว้สำหรับวัดความดังของเสียง หน่วยวัดเป็น dBA เลือกใช้เป็น A-weight เนื่องจากการเก็บค่ามีความใกล้เคียงกับหูมนุษย์มากที่สุด โดยถ้า SPL ยิ่งมีค่ามากขึ้น แสดงถึงเสียงมีความดังเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ถ้า SPL ยิ่งมีค่าน้อยคือเสียงมีความดังที่ลดลง โดยจากผลการวัดเสียงที่ห้องเครื่องทั้ง 2 ห้องได้ผลดังภาพที่แสดงดังนี้:

บทความอื่นๆ

Blog

งานซับเสียงโถงนั่งเล่นบ้านคุณเค

งานนี้ลูกค้า – คุณเค ต้องการที่จะลดเสียงก้องภายในโถงนั่งเล่นของครอบครัวลง ด้วยความที่คุณเคมีความคุ้นเคยกับสภาพอะคูสติกของห้องอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นพอสมควร เนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ช่วงเวลานึง ซึ่งโดยมากห้องของบ้านเรือนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีพื้นผิวส่วนที่เป็นผิวแข็งน้อย และประกอบไปด้วยพื้นผิวนิ่ม เช่น เสื่อทาทามิ (tatami) เบาะ ฉากกั้น เป็นต้น ประกอบกับเพดานที่โดยมากไม่ใช่โถงสูง ทำให้ปริมาตรของห้องนั้นไม่ใหญ่มาก องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เสียงก้องภายในพื้นที่อยู่อาศัย (residential dwellings) นั้นค่อนข้างน้อย จึงทำให้คุณเคมีความเคยชินกับสภาพอะคูสติกแบบนั้น จนกระทั่งเมื่อกลับมาเมืองไทยแล้วสร้างบ้านหลังใหม่ให้ครอบครัว ก็พบว่าพื้นที่ส่วนกลางของบ้านซึ่งมีฟังก์ชันเป็นห้องนั่งเล่นไปในตัวนั้นมีเสียงก้องที่ค่อนข้างสูง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคุณเคยังไม่ค่อยประทับใจกับสภาพอะคูสติกแบบนี้ ทีมงานเซ้นส์ดีได้เข้าไปสำรวจหน้างานแล้ว

Read More »
Blog

งานซับเสียงห้องทำงาน บริษัท i-secure

หลังจากที่ทางทีมงานเซ้นส์ดีได้ทำการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงก้องให้กับห้องประชุม huddle space ที่มีการใช้ระบบ video-conference ไปแล้ว ทางร้านเซ้นส์ดีก็ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า i-secure ให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงก้องในห้องทำงานของผู้บริหารต่อเนื่องไปด้วยเลย เนื่องจากทางผู้บริหารก็มีการใช้งานระบบ video-conferencing อยู่ตลอด และประสบปัญหาเรื่องเสียงที่คล้ายกันกับห้อง huddle space ซึ่งทีมงานเซ้นส์ดีก็ได้ทำการซับเสียง โดยเพิ่มปริมาณวัสดุซับเสียงเข้าไปในปริมาณที่พอเหมาะ ทำให้เสียงก้อง (reverberation) นั้นน้อยลงเยอะ ให้ความรู้สึกว่าห้องนั้นมีความเงียบลง ซึ่งนอกเหนือจากการที่ทางผู้บริหารสามารถประชุม online ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากได้ยินเสียงจากคู่สนทนาชัดเจน และผู้ฟังปลายทางยังสามารถได้ยินผู้บริหารได้อย่างชัดถ้อยชัดคำแล้วนั้น

Read More »
Blog

งานซับเสียงห้อง Huddle Space บริษัท i-secure

งานซับเสียงห้อง huddle space เพื่อใช้ในการทำ video-conference ที่มาที่ไปของงานนี้คือ ลูกค้าประสบปัญหาเสียงภายในห้องประชุมย่อย ที่มีการใช้ระบบ video-conferencing อยู่ต่อเนื่อง และมีความรู้สึกว่าเวลาทำการประชุมออนไลน์นั้น สตาฟฟังเสียงจากฝั่งปลายสาย (far-end) ได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร อีกทั้งปลายสายก็ยังฟังเสียงจากสตาฟฝั่งต้นทาง (near-end) ไม่ค่อยรู้เรื่องอีกด้วย ลูกค้าจึงติดต่อทางร้านเซ้นส์ดีให้เข้าไปช่วยประเมิน (assess) ปัญหา และหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจากการที่ทางทีมงานเซ้นส์ดีได้เข้าไปตรวจสอบพบว่าปัญหาประกอบไปด้วย 2 ปัญหาเรื่องเสียงที่ไม่เกี่ยวกัน แต่เกิดจากปัญหาของสภาพอะคูสติกภายในห้องต้นทางเดียวกัน

Read More »