งานนี้ทางลูกค้าได้ติดต่อมาให้ทางร้านเซ้นส์ดีช่วยวางระบบเสียงให้แก่ทางหน่วยงานวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และต้องการให้ทางร้านเข้าไปเซ็ทอัพและตั้งค่า (setup & configure) ตัวดิจิตอลมิกเซอร์ Behringer X32 Producer และเครื่องจัดการระบบลำโพง (Loudspeaker Management System) Behringer DCX2496LE ซึ่งทางร้านได้แนะนำไปให้ก่อนหน้าผ่านทางลูกค้า เนื่องจากทางหน่วยงานไม่มีเจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ที่เชี่ยวชาญประจำอยู่ จึงอยากได้ระบบที่ถูกเซ็ทและตั้งค่าไว้แล้ว โดยให้ใครก็ได้สามารถมาเปิดระบบแล้วเร่งเสียงขึ้นได้เลย โดยที่เสียงยังคงคุณภาพเหมือนตอนแรกที่เซ็ทไว้
ซึ่งตรงนี้ หากพิจารณาอย่างเร็วๆ หลายคนที่ทำงานอยู่ในวงการโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual) อาจมีความเห็นว่าการใช้ดิจิตอลมิกเซอร์นั้นยาก และต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการใช้ อย่างไรก็ตาม ทางร้านเห็นว่าความสามารถในการจำค่าของตัวดิจิตอลมิกเซอร์นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ระบบเสียงนั้นมีคุณภาพ สม่ำเสมอ และเสถียร ที่สุดไม่ว่าผู้ที่จะมาเปิดและใช้ระบบนั้นจะเป็นใคร
ทางเรามองว่าประเด็นไม่ได้อยู่ที่ความยากในการใช้เครื่องดิจิตอลมิกเซอร์ หากแต่อยู่ที่การสื่อสาร และการสอนวิธีใช้งานเบื้องต้น (training the basics) อย่างเข้าใจง่ายและทำซ้ำได้ ให้แก่บุคคลากรที่มีส่วนเป็นผู้ใช้ต่างหาก ที่จะทำให้ระบบที่ดูเผินๆเหมือนยาก แต่จริงๆแล้วกลายเป็นระบบที่ใช้งานง่ายมากๆ และอาศัยเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve) ที่ต่ำมากๆในการที่จะเริ่มต้นใช้งาน หรือ “get the system up and running”
เป็นต้นว่า ปุ่มที่จำเป็นต้องรู้เป็นอันดับแรกคือปุ่มเรียก (recall) preset ขึ้นมา และทุกครั้งที่มีการเปิดใช้งานระบบ ทุกคนที่มาใช้ระบบจะต้องมีหน้าที่ที่จะเรียก present-01 ขึ้นมาก่อน เป็นอันดับแรก จากนั้นจึงปรับระดับเสียงโดยใช้เฟดเดอร์ (fader) สไลด์ขึ้นลงเพื่อปรับระดับความดังเอา ซึ่งจริงๆแล้ว 2 ขั้นตอนนี้คือหลักใหญ่ใจความที่ถ้าใครรู้ก็สามารถใช้ระบบนี้ได้แล้ว นอกเหนือจากนี้นั้นเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ผู้ใช้ระดับชำนาญการ หรือ “advanced user” นั้นสามารถที่จะเรียนรู้ต่อยอดไปได้เอง โดยที่ผู้ใช้ทั่วไป “basic user” นั้นไม่จำเป็นต้องรู้เลย เพราะทุกอย่างในระบบถูกตั้งค่าและผ่านการเรียง (alignment) ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ที่ส่งมอบระบบ
ซึ่งหลังจากที่ได้รับรู้รับทราบถึงความชำนาญและความสามารถในการเรียนรู้ (learning capacity) ของบุคคลากรของหน่วยงานแล้ว ทางร้านจึงได้ทำการป้อนข้อมูลต่างๆที่จำเป็น ดังที่กล่าวมาให้แก่ทางบุคคลากร ยังผลให้การใช้งานทำได้โดยง่าย และทางเจ้าหน้าที่ของทางวิทยาลัยฯนั้นสามารถเปิด-ปิดระบบและใช้งานได้เอง โดยที่ทางร้านไม่ต้องยื่นมือเข้าช่วยทำงานกับระบบให้อีก