ห้องยิมของครูหนุ่ม ซุมบ้า (Num Zumba) – งานเพิ่มศักยภาพระบบภาพและเสียง

สภาวะระบบในปัจจุบัน

โดยธรรมชาติของห้องสตูดิโอออกกำลังกายนั้นจะประกอบไปด้วยกระจกและผนังแข็ง หรือในที่นี้นั้นเป็นผนังปูนและกระจก ทำให้ห้องสตูดิโอนั้นมีเสียงก้องอยู่พอสมควร และเนื่องจากครูฝึกต้องใช้เสียงเพลงประกอบการสอน ดังนั้นการทำระบบเสียงให้ดีและชัดเจนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเสียงเพลงคือหัวใจหลักของการฝึกสอน

ระบบเสียงที่ทางลูกค้ามีอยู่แล้ว ประกอบไปด้วย:
  1. Pre-mic.                 x 1 เครื่อง
  2. Power amplifier          x 1 เครื่อง
  3. ลำโพง 12 นิ้ว              x 2 ใบ
  4. ทีวี ติดตั้งไว้บนขาตั้งแบบมีล้อ  x 1 ชุด
ปัญหาของระบบ

ได้รับทราบผ่านการเข้ารับความต้องการของลูกค้าและการสำรวจหน้างานนั้น คือ:

  1. คนข้างหลังไม่ค่อยได้ยินเสียง และรายละเอียดในเพลงเท่าที่ควร
  2. คนข้างหน้าจะได้ยินเสียงเพลงดังเกินไปในลักษณะที่ไม่สบายหู ถ้ายืนใกล้ลำโพง ทำให้ นักเรียนพยายามจะถอยห่างออกจากลำโพงและทำให้เสียพื้นที่ว่างหน้าลำโพงไป
  3. ระบบเสียงแม้จะดังเพียงพอ แต่เสียงค่อนข้างจะดังในลักษณะที่ไม่สบายหู
  4. ลำโพงนั้นตั้งอยู่บนขาตั้งที่วางไว้บนพื้น ทำให้เสียพื้นที่ในการใช้สอน
  5. ทีวีนั้นอยู่บนขาตั้งแบบมีล้อ และอยู่ในระดับสายตา และอยู่ด้านข้างห้องฝั่งขวา ทำให้คนที่อยู่ข้างหลังมองเห็นนาฬิกาไม่ได้สะดวกนัก และทุกคนต้องชำเลืองมองไปทางด้านข้าง
  6. การควบคุมการเปิดเพลงและการเปิดนาฬิกาต้องทำผ่านอุปกรณ์ 2 ตัว คือ นาฬิกา iPad และ คอมพิวเตอร์
สาเหตุของปัญหา

  1. ไม่มี graphic equalizer การเปิดเพลงโดยไม่ผ่าน EQ นั้นทำให้เสียงไม่ผ่านการกลั่นกรองและการปรุงแต่ง จึงทำให้ไม่สามารถปรับเสียงที่เปิดออกมาได้อย่างดีเท่าที่ควร นอกเหนือไปจาก bass และ treble ที่อยู่บน pre-mic. จึงทำให้เสียงที่เปิดออกมานั้นไม่นุ่มนวลเท่าที่ควร และอาจสร้างความไม่สบายหูให้ผู้ฟังได้
  2. ไม่มีแผง audio mixer ที่เอาไว้ใช้ควบคุมเสียงสัญญาณต่างๆ Audio Mixer นั้นจำเป็นในการใช้งานในลักษณะนี้ เนื่องจากเสียงอาจจะต้องถูกปรับแต่งเพิ่มเติม เช่น เร่ง ลด ปรับ ทุ้ม กลาง แหลม ตามแต่ละคลาสและเพลงต่างๆที่ถูกเปิด และในบางครั้งอาจจะต้องเปิดเพลงจาก source อื่นๆ เช่น CD-player, iPhone เป็นต้น
  3. การครอบคลุมของเสียง (sound coverage) ไม่ทั่วถึง การมีลำโพงคู่เดียวไม่อาจนำพาเสียงไปถึงคนข้างหลังได้ 100% โดยที่ไม่สูญเสียรายละเอียดของเสียง เนื่องจากคนข้างหลังได้ยินเสียงก้องเท่าๆกับเสียงตรงที่มาจากลำโพงคู่หน้าห้อง ทำให้เสียงตรงจริงๆนั้นถูกลดทอน และการเปิดให้ลำโพงคู่หน้านั้นดังขึ้นก็จะเป็นการรบกวนคนที่อยู่หน้าลำโพงซึ่งจะได้ยินเสียงลำโพงที่ดังเกินไป
  4. ไม่สามารถมองเห็นทีวีได้อย่างทั่วถึงเท่าที่ควร โดยทีวีนั้นตั้งอยู่บนขาตั้งแบบมีล้อ และอยู่ทางด้านข้างของห้องในระดับสายตา ทำให้คนอื่นที่อยู่ค่อนไปทางด้านหลังของห้องจะถูกบัง และมองไม่เห็นชัดเท่าที่ควร
  5. พื้นที่ในการใช้สอนนั้นเล็กลง เนื่องจากสูญเสียพื้นที่ว่างไปใช้สำหรับวางลำโพงและทีวี
แนวทางการทำระบบให้ดียิ่งขึ้น

  1. ใช้ graphic equalizer และ audio mixer โดยให้ EQ เป็นแบบ graphic มีให้ปรับเสียงได้ 31 ความถี่ แยกอิสระได้ 2 ช่องสัญญาณ ซึ่งตรงกับความต้องการของงานนี้ เพื่อช่วยในการปรุงแต่งเสียง เพื่อให้มีความกลมกล่อม และเพิ่มอรรถรสในการเปิดเพลงให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น
  2. เพิ่มลำโพงเสริม 1 คู่ ซ้าย-ขวา โดย 2 จุดนั้นคือ จุดข้างหลังของห้องเพื่อเพิ่มการกระจายตัวของเสียงเพลงให้ทั่วถึง และไม่ต้องเร่งเสียงเพลงจากคู่หน้าให้ดังจนเกินไป เป็นการเพิ่มเสียงทางตรง (Direct Sound) ไปยังผู้ฟังได้มากขึ้น
  3. แขวนลำโพงแทนการวาง ย้ายตำแหน่งลำโพงทั้ง 4 ตัว ไปทางด้านบน และก้มหน้าลำโพงลงมา เพื่อให้เสียงมีการกระจายที่ครอบคลุมทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการใช้สอนได้
  4. แขวนทีวีแทนการวาง เลือกแขวนทีวีไว้ทางด้านหน้าของห้องที่ตำแหน่งกึ่งกลางห้องเพื่อให้มองเห็นได้อย่างทั่วถึงจากทุกมุมในห้อง โดยใช้ร่วมกับแอพฯนาฬิกาหรืออื่นๆที่สามารถเปิดเป็น full-screen ได้ และเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการใช้สอนได้
  5. เพิ่ม Apple TV เพื่อใช้เป็นตัวรับสัญญาณทั้งภาพและเสียงจาก i-Device ต่างๆที่ครูผู้ฝึกสอนเลือกใช้ รวมถึง iPhone, iPad, MacBook ได้ อีกทั้งยังสามารถเปิด Youtube หรือแอพฯอื่นๆได้เลย
ค่าเสียงก้อง [Reverberation Time 60dB (RT60)]

 

ค่าเสียงรบกวนภายในห้อง [Noise Curve (NC)]

– NC-40

 

Bill Of Quantities (BOQ):

1. Yamaha = MG10XU = แอนะล็อก* (analog) มิกเซอร์ 10 ช่อง x 1 เครื่อง
2. dbx = 231S = Stereo Graphic Equalizer 31 ความถี่ x 1 เครื่อง
3. JBL = JRX215D = ลำโพงตู้ 15″ x 2 ตู้
4. Ugreen = 30908 = เครื่องแปลงสัญญาณ optical เป็น RCA x 1 ตัว
5. Australian Monitor = Getup = เครื่องแปลงสัญญาณ unbalanced เป็น balanced x 1 ตัว
6. Apple = Apple TV = แอปเปิล* ทีวี x 1 เครื่อง
7. TP-Link = TL-WA801ND = Wireless Access Point x 1 เครื่อง
8. Yamaha = Subwoofer (ของเดิมลูกค้า) x 1 เครื่อง
9. Crown = Power Amplifier (ของเดิมลูกค้า) x 1 เครื่อง

10. Apple = Macbook (ของเดิมลูกค้า) x 1 เครื่อง

*ตัวสะกดคำศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถาน

บทความอื่นๆ

Blog

งานซับเสียงโถงนั่งเล่นบ้านคุณเค

งานนี้ลูกค้า – คุณเค ต้องการที่จะลดเสียงก้องภายในโถงนั่งเล่นของครอบครัวลงด้วยความที่คุณเคมีความคุ้นเคยกับสภาพอะคูสติกของห้องอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นพอสมควร เนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ช่วงเวลานึง ซึ่งโดยมากห้องของบ้านเรือนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีพื้นผิวส่วนที่เป็นผิวแข็งน้อย และประกอบไปด้วยพื้นผิวนิ่ม เช่น เสื่อทาทา…

Read More »
Blog

งานซับเสียงห้องทำงาน บริษัท i-secure

หลังจากที่ทางทีมงานเซ้นส์ดีได้ทำการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงก้องให้กับห้องประชุม huddle space ที่มีการใช้ระบบ video-conference ไปแล้ว ทางร้านเซ้นส์ดีก็ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า i-secure ให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงก้องในห้องทำงานของผู้บริหารต่อเนื่องไปด้วยเลย เนื่องจากทางผู้บริหารก็มีการใช้งานระบบ video-conferencing อยู่ตลอด

Read More »