ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) – งานออกแบบปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ ห้องประชุมผู้บริหาร

สืบเนื่องมาจากทางธนาคารต้องการปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ของห้องประชุมผู้บริหารใหม่ ให้มีความทันสมัย และตอบโจทย์การใช้งานที่เพิ่มเติมไปจากเดิม ทางทีมงานออกแบบ ซึ่งหลังจากได้รับการสั่งจ้างอย่างเป็นทางการแล้วจึงดำเนินการเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรก นั่นคือ:

1. จัดการนัดประชุมรับความต้องการ (needs analysis) ของผู้ใช้งานทั้งในส่วนของ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบโสตทัศนูปกรณ์ (AV operators) และผู้บริหารที่จะใช้ห้องของทางหน่วยงาน (end-users) ซึ่งความต้องการประกอบไปด้วย:
– เพิ่ม USB และ wireless charger บนโต๊ะผู้ประชุมอย่างทั่วถึง
– ลดจำนวนมอนิเตอร์ส่วนตัว (personal monitor) และเพิ่มจอ (TV display) ใหม่ บางส่วน
– ปรับการใช้งานลิฟต์ยกจอให้เป็นอิสระจากกัน โดยระบบเดิมนั้นลิฟต์ยกจอจะขึ้น-ลงพร้อมกันหมด และทำระบบใหม่ให้เป็นอิสระจากกัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ

จำนวนผู้ใช้งานจริงในแต่ละครั้ง
– เพิ่ม digital signage หรือป้ายประชาสัมพันธ์ดิจิทัล หน้าห้องเพื่อแสดงข้อมูลการประชุม และ/หรือ วาระการประชุม
– ให้มีการใช้ Apple TV เพื่อใช้กับการนำเสนองานผ่าน AirPlay ได้ (iOS, Apple Computer, iPad, iPhone หรือเครื่องอื่นๆที่สามารถรองรับ AirPlay ได้)
– ติดตั้งไมค์จับเสียงสภาพแวดล้อม (ambient microphone) ไว้ภายในห้องประชุมเพื่อที่เจ้าหน้าที่ควบคุมการประชุมจะรับทราบถึงสภาวการณ์ในที่ประชุมได้ตามเวลาจริง (real-time) ทั้งนี้
– ในกรณีที่มีการประชุมที่มีข้อมูลที่เป็นความลับ (sensitive data) ให้ประธานสามารถกดปุ่มตัดเสียง (mute button) ไม่ให้เสียงการประชุมออกไปยังห้องควบคุมระบบได้
– มีระบบติดต่อสื่อสาร (intercom) ระหว่างเลขาผู้นำเสนอและห้องควบคุมระบบ (AV control room)
– เพิ่มคุณสมบัติของชุดประชุมให้ทำการบันทึกการประชุมลง USB flashdrive ได้
– ให้เตรียมแบตเตอรี่สำหรับชุดประชุมไร้สายไว้สำรอง จำนวน 10% โดยประมาณจากชุดประชุมทั้งหมด
– ทำหน้าต่างแบบติดฟิล์มมองทางเดียวให้กับห้องควบคุมระบบโสตฯ ซึ่งกระจกที่ใช้จะเป็นกระจกลามิเนต (laminated glass) ซึ่งมีคุณสมบัติระดับการกันเสียงที่ STC (Sound Transmission Class) 25-30 โดยประมาณ
– กำหนดให้มี one-sheet instruction บอกวิธีการใช้งานระบบในแต่ละที่นั่ง ให้อยู่บนกระดาษเคลือบเล็กๆ 1 แผ่น

 

ต่อมา หลังจากที่ได้รับความต้องการของผู้ใช้งานแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการ:

 

2. สำรวจห้อง (site-survey) เพื่อที่จะได้ทราบถึงสภาวการณ์ของห้อง ณ ปัจจุบัน (study on the existing room’s environment) ซึ่งการสำรวจในที่นี้ประกอบไปด้วย การสำรวจค่าทางอะคูสติก การสำรวจอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว (existing equipment) และ การสำรวจสภาพแสงและความสว่างของห้อง (existing room’s lighting and brightness)

 

โดยในการสำรวจค่าทางอะคูสติกของห้อง (room’s acoustical properties) นั้น ประกอบไปด้วยการหาค่าเสียงก้อง หรือ Reverberation Time 60dB (RT60) ซึ่งวัดแล้วได้อยู่ที่ประมาณ 0.8s (0.8 วินาที) ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี เหมาะสมสำหรับห้องประชุมแล้ว ด้วยค่าเสียงก้องที่ไม่ถึง 1 วินาทีดี ทำให้การปรับระบบเสียงให้ฟังดีและชัดเจนเป็นเรื่องง่าย โดยค่าดัชนีชี้วัดการส่งผ่านเสียงพูด (Sound-Transmission-Index, STI) ของห้องนั้นอยู่ที่ประมาณ 0.69 (จากสเกล 0-1 ซึ่ง 0 หมายถึงส่งผ่านเสียงพูดได้แย่ที่สุด และ 1 หมายถึงส่งผ่านเสียงพูดได้ดีที่สุด) ซึ่งสำหรับห้องนี้วัดได้ 0.69 โดยประมาณ จึงจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีแล้ว (rating: good)

 

อีกค่าหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพเสียงของห้องนั้นคือเกณฑ์เสียงรบกวน (noise curve) ซึ่งจากการวัด ได้ค่าอยู่ที่ประมาณ NC-48 ซึ่งถือว่าสูงมาก (ดังที่เแสดงในรูป 2.1 ข้างล่าง) และด้วยเสียงรบกวนนี้ทำให้ห้องนั้นไม่เงียบสงัดซะทีเดียว เวลาที่มีการหยุดพูดหรือมีการหยุดและปล่อยให้เงียบ (dead-air) ภายในห้องนั้น เสียงพัดลมของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะดังมาก ดังนั้นการหากล่อง (housing) มาครอบเครื่องคอมพิวเตอร์และบุข้างในกล่องเพื่อให้กั้นเสียงดังออกมาจึงเป็นสิ่งพึงกระทำหากเราต้องการยกระดับคุณภาพอะคูสติกของห้อง ทั้งนี้ในการทำกล่องครอบนั้นต้องคำนึงถึงระบบการไหลเวียนของอากาศ (air ventilation) เพื่อไม่ให้คอมพิวเตอร์ร้อนและเกิดการ “แฮ้งค์” ขึ้นมา

รูป 2.1

รูป 2.2

อีกค่าหนึ่งซึ่งมีผลต่อคุณภาพของระบบโสตทัศนูปกรณ์ คือระดับความสว่างของแสงไฟภายในห้อง ณ จุดที่ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งทำงาน เช่น บนโต๊ะ ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยเครื่องมิเตอร์วัดความสว่าง (Lux Meter) และมีหน่วยเป็นลักซ์ (Lux) ซึ่งแสงที่ตกกระทบชิ่งเฟอร์นิเจอร์หรือพื้นผิวที่มีคุณสมบัติเป็นสิ่งสะท้อน (reflector) แล้วเดินทางไปยังจอโปรเจคเตอร์ (projector screen) หน้าห้องนั้นจะก่อให้ภาพนั้นจางลง ยังผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่ไกลจากจอนั้นมองเห็นภาพได้ไม่ค่อยชัด เนื่องจากอัตราส่วนระหว่างสีขาวกับสีดำ (contrast ratio) นั้นไม่แตกต่างกันมากพอ ทำให้ภาพนั้นดูซีดและเลือนลาง นอกจากนั้นยังมีแหล่งกำเนิดแสง (light source) อีกหนึ่งแหล่งที่อาจจะมามีส่วนทำให้ภาพที่ฉายไปบนจอนั้นจางลง นั่นคือโคมไฟดาวน์ไลท์ (downlight) ที่อยู่บริเวณเหนือจอหรือใกล้ๆกับจอ ซึ่งจำเป็นต้องแยกวงจรออกมาให้เป็นเอกเทศ เนื่องจากต้องสามารถปิดได้ หากมีการใช้โปรเจคเตอร์ฉายไปที่จอ แสงจากดาวน์ไลท์จะได้ไม่ไปเจือจางความสดของภาพ โดยรูป 2.3 แสดงระดับของความสว่างบนพื้นผิวตามตำแหน่งต่างๆที่วัดไว้ได้ และรูป 2.4 แสดงอัตราส่วนระหว่างสีขาวกับสีดำ ของภาพที่ฉายไปบนจอ

รูป 2.3

รูป 2.4

และหลังจากเมื่อเรารู้จักสภาวะแวดล้อมของห้องแล้ว การออกแบบระบบภาพและเสียงให้สอดคล้องกับห้องจึงจะได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อๆไปจนถึงตอนส่งมอบแบบชุดประมูล (tender package) ให้แก่หน่วยงาน

 

ฺBill of Quantities (BOQ) คร่าวๆ:

1. ดิจิตอลมิกเซอร์ 16 ช่องสัญญาณ หน้าจอสัมผัส x 1 เครื่อง
2. เครื่องรับส่งสัญญาณ WiFi (wireless access point) x 1 เครื่อง
3. ชุดประชุมไร้สาย ตัวประธาน (chairman) x 1 ชุด
4. ชุดประชุมไร้สาย ผู้เข้าร่วมประชุม (delegate) x 41 ชุด
5. ก้านไมค์ (gooseneck mic.) 40 – 43 ซม. x 42 อัน
6. แบตเตอรี่สำหรับชุดประชุมไร้สาย x 52 ก้อน
7. เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ทีละ 8 ก้อน x 3 เครื่อง
8. เครื่องรับ/กระจายสัญญาณอินฟราเรด (infrared transceiver) x 6 เครื่อง
9. เครื่องควบคุมชุดประชุม (conference system processor) x 1 เครื่อง
10. ไมโครโฟนแบบฝังโต๊ะ (flush-mount microphone) พร้อมปุ่มตัดเสียง (mute button) ในตัว x 1 ตัว
11. เครื่องสื่ิอสารแบบจุดต่อจุด (point-to-point intercom) x 1 คู่
12. จอคอมพิวเตอร์ความละเอียดสูง (High-Definition, HD, 1366 x 768) ขนาด 15.6 นิ้ว x 29 จอ
13. แอปเปิลทีวี (Apple TV) x 1 เครื่อง
14. จอความละเอียดสูงยิ่ง (Ultra High-definition, UHD, 4K,) 43 นิ้ว x 5 เครื่อง
15. เครื่องกระจายสัญญาณ HDMI แบบ เข้า 1 ออก 3 x 1 เครื่อง
16. เครื่องกระจายสัญญาณ HDMI แบบ เข้า 1 ออก 2 x 1 เครื่อง
17. เครื่องกระจายสัญญาณ HDMI แบบ เข้า 1 ออก 16 x 2 เครื่อง
18. เครื่องปรับแปลงความละเอียด (scaler) VGA เป็น HDMI x 1 เครื่อง
19. เครื่องจ่ายไฟ Power-Over-Ethernet (POE) injector x 2 เครื่อง
20. เครื่องสลับสัญญาณภาพแบบมีตัวปรับแปลงความละเอียดสำหรับการนำเสนอแบบรับสัญญาณได้ 12 ช่อง (12-input presentation-scaling matrix switcher) x 1 เครื่อง
21. เคริื่องกระจายสัญญาณ HDBaseT แบบ เข้า 1 ออก 4 x 1 เครื่อง
22. เครื่องส่งสัญญาณ HDBaseT (Tx) x 4 เครื่อง
23. เครื่องรับสัญญาณ HDBaseT (Rx) x 9 เครื่อง
24. iPad 9.7 นิ้ว x 1 เครื่อง
25. แท่นชาร์จไร้สาย สำหรับสมาร์ทโฟน (smartphone) ที่รองรับ Qi-Technology x 58 เครื่อง
26. อุปกรณ์สำหรับช่วยผู้นำเสนอควบคุมสไลด์ สำหรับ iOS (Magic Trackpad) x 1 เครื่อง
27. จอภาพแบบกรอบรูปงานศิลปะ ขนาด 55 นิ้ว x 1 เครื่อง
28. จอภาพแบบกรอบรูปงานศิลปะ ขนาด 65 นิ้ว x 1 เครื่อง
29. เครื่องบันทึกภาพกล้อง (Network-Video-Recorder, NVR) x 1 เครื่อง
30. กล้องโดมแบบหมุนเร็ว (speed dome camera) x 2 ตัว
31. แผงควบคุมพร้อมคันโยกสำหรับระบบกล้อง (joystick) x 1 เครื่อง
32. ฮาร์ดดิสก์ (4TB harddisk) x 1 ตัว

บทความอื่นๆ

Blog

งานซับเสียงโถงนั่งเล่นบ้านคุณเค

งานนี้ลูกค้า – คุณเค ต้องการที่จะลดเสียงก้องภายในโถงนั่งเล่นของครอบครัวลงด้วยความที่คุณเคมีความคุ้นเคยกับสภาพอะคูสติกของห้องอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นพอสมควร เนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ช่วงเวลานึง ซึ่งโดยมากห้องของบ้านเรือนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีพื้นผิวส่วนที่เป็นผิวแข็งน้อย และประกอบไปด้วยพื้นผิวนิ่ม เช่น เสื่อทาทา…

Read More »
Blog

งานซับเสียงห้องทำงาน บริษัท i-secure

หลังจากที่ทางทีมงานเซ้นส์ดีได้ทำการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงก้องให้กับห้องประชุม huddle space ที่มีการใช้ระบบ video-conference ไปแล้ว ทางร้านเซ้นส์ดีก็ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า i-secure ให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงก้องในห้องทำงานของผู้บริหารต่อเนื่องไปด้วยเลย เนื่องจากทางผู้บริหารก็มีการใช้งานระบบ video-conferencing อยู่ตลอด

Read More »