วัดระดับความดังเสียงต่างๆ ภายในห้องเครื่องของโรงงานอาหารสัตว์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดระดับความดังเสียงต่างๆ ภายในห้องเครื่องของโรงงานอาหารสัตว์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

 

สภาพแวดล้อมของการวัด (test environment) และวิธีการเรียบเรียงการวัด (test methodology):

 

การวัดเสียงมีขึ้นระหว่างเวลา 13.30 น. – 15.00 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562

– เครื่องวัดเสียงได้มาตรฐาน IEC-61672 Class 1
– ตั้งเครื่องวัดที่ระดับความสูง 1.25 ซม.
– วัดเสียงของห้องเครื่อง 2 ห้อง ขณะที่ห้องเครื่องทำงาน
– ตำแหน่งในการวัด:
1. กลางห้องเครื่อง

 

2. หน้าประตูห้องเครื่อง
– ชนิดของค่าเสียงที่วัดตามจุดต่างๆ:
1. dB-SPL (A-weight)
2. Noise Curve (NC)

 

3. Real-Time-Analysis (RTA)

ปัญหาและประเด็นที่ควรได้รับการปรับปรุง:
1. เสียงจากภายในห้องเครื่องมีระดับเสียงที่สูงมากและเสียงออกมาภายนอกห้องเครื่องมากกว่าที่ควรจะเป็น
2. ค่า Noise Criteria มีค่าที่สูงเกิน
3. ความถี่ที่มีช่วงระดับความดังมากในห้องเครื่องที่ 1 คือ 200Hz และ 400Hz
4. ความถี่ที่มีช่วงระดับความดังมากในห้องเครื่องที่ 2 คือ 100 Hz, 200 Hz, 630 Hz และ 1250 Hz
สภาพอะคูสติกของห้องปัจจุบัน:
1. Sound Pressure Level (SPL) – เป็นค่าที่ไว้สำหรับวัดความดังของเสียง หน่วยวัดเป็น dBA เลือกใช้เป็น A-weight เนื่องจากการเก็บค่ามีความใกล้เคียงกับหูมนุษย์มากที่สุด โดยถ้า SPL ยิ่งมีค่ามากขึ้น แสดงถึงเสียงมีความดังเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ถ้า SPL ยิ่งมีค่าน้อยคือเสียงมีความดังที่ลดลง โดยจากผลการวัดเสียงที่ห้องเครื่องทั้ง 2 ห้องได้ผลดังภาพที่แสดงดังนี้:

ภาพที่ 1 แสดงการวัดเสียง SPL ในห้องเครื่องห้องที่ 1

 

จากผลการวัดความดังเสียงในห้องเครื่อง 1 ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ โดยวัด 2 ตำแหน่ง จำนวน 2 ครั้ง โดยผลจะแสดงค่า LAeq เป็นค่าเฉลี่ยของเสียงของการวัดเสียง ส่วน LAmax เป็นค่าเสียงที่ดังที่สุดของการวัดเสียงช่วงนั้นได้ผลดังนี้:

 

– ตำแหน่งที่วัดกลางห้องเครื่อง ได้ค่าความดังเฉลี่ย (LAeq) ที่ 101.9 dBA
– ตำแหน่งที่วัดกลางห้องเครื่อง ได้ค่าความดังสูงสุด (LAmax) ที่ 103.1 dBA
– ตำแหน่งที่วัดนอกห้องเครื่องที่หน้าประตู ได้ค่าความดังเฉลี่ย (LAeq) ที่ 86.4 dBA
– ตำแหน่งที่วัดนอกห้องเครื่องที่หน้าประตู ได้ค่าความดังสูงสุด (LAmax) ที่ 88.7 dBA

 

ภาพที่ 2 แสดงการวัดเสียง SPL ในห้องเครื่องห้องที่ 2

 

จากผลการวัดความดังเสียงในห้องเครื่อง2 ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ โดยวัด 2 ตำแหน่ง จำนวน 2 ครั้ง โดยผลจะแสดงค่า LAeq เป็นค่าเฉลี่ยของเสียงของการวัดเสียง ส่วน LAmax เป็นค่าเสียงที่ดังที่สุดของการวัดเสียงช่วงนั้นได้ผลดังนี้

 

– ตำแหน่งที่วัดกลางห้องเครื่องที่2 ได้ค่าความดังเฉลี่ย (LAeq) ที่ 107.8 dBA
– ตำแหน่งที่วัดกลางห้องเครื่องที่2 ได้ค่าความดังสูงสุด (LAmax) ที่ 109.5 dBA
– ตำแหน่งที่วัดนอกห้องเครื่องที่2 หน้าประตู ได้ค่าความดังเฉลี่ย (LAeq) ที่ 91 dBA
– ตำแหน่งที่วัดนอกห้องเครื่องที่2 หน้าประตู ได้ค่าความดังสูงสุด (LAmax) ที่ 92.4 dBA

 

จากผลการวัด SPL จึงสรุปได้ว่า:

 

เสียงจากภายในห้องเครื่องสามารถลอดออกมาภายนอกได้ถึง 90 dB ทำให้ส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อแก้วหูของผู้ทำงานในบริเวณนั้น ดังนั้นจำเป็นต้องติดตั้งแผ่นอะคูสติกสำหรับในการกันเสียงภายในห้องเครื่องเพื่อลดความดังเสียงที่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ทำงาน

 

2. Noise Curve (NC) – เป็นการวัดเสียงรบกวนและความเงียบภายในห้อง ด้วย Noise Criteria ตามค่ามาตรฐาน ANSI S12.2-2008 และ 1995 ได้ผลการวัดตามตารางที่ 1 ดังนี้:

 

ตารางที่ 1 แสดงผลการวัดค่า NC

โดยค่า NC ตามโรงงานไม่ได้มีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ และค่าระดับเสียง NC ภายนอกห้องเครื่องที่ 2 ในขณะที่เครื่องในห้องที่ 2 ทำงานอยู่ วัดได้ค่า NC-71 ถือว่ามีค่าที่สูงมาก อย่างไรก็ตามแนะนำให้มีค่า NC อยู่ในช่วง 45-55 ตามค่ามาตรฐาน NC ของ Sport Coliseums ซึ่งในโรงงานมีเสียงเครื่องจักรค่อนข้างดัง ดังนั้นแนะนำไม่ให้ NC เกิน 60

3. Real Time Analysis (RTA) – เป็นการแสดงการตอบสนองเสียงของแต่ละความถี่ จากผลการวัดได้ตามภาพดังนี้:

 

ภาพที่ 3 แสดงกราฟความดังเฉลี่ยภายในห้องเครื่องที่ 1

 

ภาพที่ 4 แสดงกราฟความดังเฉลี่ยภายนอกห้องเครื่องที่ 1

จากผลการวัดเสียงในห้องเครื่องที่ 1 จะเห็นได้ว่าความดังเสียงตอบสนองที่ความถี่ 200 Hz และ 400 Hz มากที่สุดทั้งในภาพที่ 3 และ 4 แสดงว่าเสียง ณ ช่วงความถี่เดียวกันเสียงจากภายในห้องเครื่องสามารถออกไปข้างนอกห้องเครื่องได้ถึง 91.6 dB จาก 102.9 dB ดังนั้นควรแก้ปัญหาที่ความถี่ 200 Hz และ 400 Hz เพื่อลดปัญหาเสียงที่ดังเกินไป

 

ภาพที่ 5 แสดงกราฟความดังเฉลี่ยภายในห้องเครื่องที่ 2

 

ภาพที่ 6 แสดงกราฟความดังเฉลี่ยภายนอกห้องเครื่องที่ 2

จากผลการวัดเสียงในห้องเครื่องที่ 2 จะเห็นได้ว่าความดังเสียงตอบสนองที่ความถี่ 100 Hz, 200 Hz, 630 Hz และ 1250 Hz มากที่สุดทั้งในภาพที่ 5 และ 6 แสดงว่าเสียง ณ ช่วงความถี่เดียวกันเสียงจากภายในห้องเครื่องที่ 2 สามารถออกไปข้างนอกห้องเครื่องได้ถึง 91.4 dB จาก 109 dB ดังนั้นในห้องเครื่องที่ 2 ควรแก้ปัญหาที่ความถี่ 100 Hz, 200 Hz, 630 Hz และ 1250 Hz เพื่อลดปัญหา ณ ความถี่เสียงที่ดังเกินไป

เป้าหมาย:

ลดเสียงภายนอกให้เหลือประมาณ 75 dB-SPL(A) จะทำให้ผู้ทำงานสามารถฟังได้ต่อเนื่องนาน เนื่องจากตามที่กฎหมายกำหนดลูกจ้างหรือผู้ทำงานสามารถฟังเสียงต่อเนื่องไม่เกิน 91 dB-SPL(A) ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมงเท่านั้น (อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 19 ง ราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 26 มกราคม 2561 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานในแต่ละวัน)

บทความอื่นๆ

Blog

งานซับเสียงโถงนั่งเล่นบ้านคุณเค

งานนี้ลูกค้า – คุณเค ต้องการที่จะลดเสียงก้องภายในโถงนั่งเล่นของครอบครัวลงด้วยความที่คุณเคมีความคุ้นเคยกับสภาพอะคูสติกของห้องอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นพอสมควร เนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ช่วงเวลานึง ซึ่งโดยมากห้องของบ้านเรือนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีพื้นผิวส่วนที่เป็นผิวแข็งน้อย และประกอบไปด้วยพื้นผิวนิ่ม เช่น เสื่อทาทา…

Read More »
Blog

งานซับเสียงห้องทำงาน บริษัท i-secure

หลังจากที่ทางทีมงานเซ้นส์ดีได้ทำการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงก้องให้กับห้องประชุม huddle space ที่มีการใช้ระบบ video-conference ไปแล้ว ทางร้านเซ้นส์ดีก็ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า i-secure ให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงก้องในห้องทำงานของผู้บริหารต่อเนื่องไปด้วยเลย เนื่องจากทางผู้บริหารก็มีการใช้งานระบบ video-conferencing อยู่ตลอด

Read More »