Renaissance Pattaya Resort and Spa – งานออกแบบพร้อมติดตั้ง ระบบภาพและเสียงโรงแรม

งานนี้เป็นงานแรกๆของทางร้านเซ้นส์ดี โดยทางร้านได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าที่เป็น Hotel Developer เข้ารับหน้าที่เป็น Audiovisual (AV) Designer ออกแบบระบบภาพและเสียงทั้งหมดภายในพื้นที่โรงแรม Renaissance Pattaya Resort and Spa ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

โดยพื้นที่ต่างๆที่อยู่ภายใต้ขอบเขตการทำงาน (Scope of Work) ของทางร้านเซ้นส์ดีประกอบไปด้วย:

1. ร้านอาหาร All-day Dining ชื่อ “609 Kitchen”
2. ร้านกาแฟ ชื่อ “The Deli”
3. ห้องเล่นเด็ก (Kids Club) ชื่อ “Treasures Kids Club”
4. ล็อบบี้ และ ล็อบบี้เลานจ์ (Lobby Lounge) ชื่อ “R Bar”
5. แกรนด์บอลรูม (Grand Ballroom)
6. ห้องประชุม (Meeting Rooms 1-3)
7. โถงพักคอยและจัดเลี้ยง (Pre-function, Event-hub)
8. ห้องออกกำลังกาย (Gym)
9. ห้องสปา (Spa)
10. ร้านอาหารบิสโทร ชื่อ “Pebbles Bar & Grill”
11. ระบบป้ายประชาสัมพันธ์ดิจิทัลทั่วโรงแรม (Digital Signage System)

ซึ่ง features & functions หลักๆของระบบภายในพื้นที่ต่างๆ มีดังนี้:

1. ร้านอาหาร All-day Dining ชื่อ “609 Kitchen” ประกอบไปด้วยเสียงเพลงพื้นหลัง (Background Music, BGM) เกือบเต็มย่านความถี่ (full-range) โดยที่เว้นการใส่ซับวูฟเฟอร์ไว้เนื่องจากห้องอาหารนี้เป็นห้องที่รองรับแขกที่มาทานข้าวได้ตลอดทั้งวัน จึงไม่ต้องการเสียงย่านความถี่ต่ำ (low-end) ที่เยอะเกินไป ซึ่งจะให้ความรู้สึกเหมือนกับผับบาร์มากกว่าที่จะเป็นร้านสำหรับครอบครัวมาทานอาหารตอนกลางวัน

ในส่วนของแหล่งจ่ายเพลงนั้น ทางโรงแรมมีมาตรฐานรายชื่อผู้ให้บริการเพลงพื้นหลังอยู่แล้ว โดยทางโรงแรมเป็นผู้จัดหา และทำการต่อเชื่อมเข้ากับระบบเสียงหลักของโรงแรมผ่านคอมพิวเตอร์ x 1 เครื่อง พร้อม USB audio-interface x 1 เครื่องมาต่อเข้ากับเครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิทัลที่รองรับโปรโทคอลดานเต้ (Dante-enabled digital signal processor) รายละเอียดเกี่ยวกับ Dante Protocol สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้ที่นี่ -> www.audinate.com หลักๆคือการส่งสัญญาณเสียงคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าซีดี (CD) ผ่านสายแลนแบบมีชีลด์หรือไม่มีชิลด์ก็ได้ (shielded/unshielded) ที่ต่อเข้ากับเครื่องไอทีสวิตช์ที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายคอมพิวเตอร์ต่างๆ (Off-The-Shelf IT switch)

การใช้ Dante-based protocol ช่วยให้เราสามารถส่งสัญญาณเสียงคุณภาพสูงไป/มาได้ภายในระยะทาง +/- 90 เมตร โดยใช้สายแลน (CAT5e/CAT6 – UTP/FTP/STP) ซึ่งมีราคาถูกกว่าสายสัญญาณแอนะล็อกมาก จึงถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้สายสัญญาณเสียงแอนะล็อกทั่วไปซึ่งอาจจะโดนสัญญาณรบกวน (noise)* ได้จากหลายแหล่ง เมื่อเดินสายระยะไกลที่มากกว่า 30 เมตร ขึ้นไปโดยประมาณ (แม้ว่าจะเป็นสายแบบ balanced ก็ตาม) โดยเฉพาะสายแบบ unbalanced ซึ่งเกิน 5 เมตรก็เสี่ยงที่จะมีสัญญาณรบกวนแทรกเข้ามาในสายแล้ว

ป.ล. Noise หรือ สัญญาณรบกวนภายในสายสัญญาณนั้นเกิดได้จาก: 1. Electrostatic Field (คลื่นไฟฟ้าสถิต) ซึ่งป้องกันโดยใช้สายสัญญาณแบบมีชีลด์ (shielded cable) 2. Electromagnetic Field (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งป้องกันได้จากการใช้สายสัญญาณแบบ balanced เพื่อให้ขั้วบวกและลบ (+/-) นั้น ทำงานร่วมกันเพื่อหักล้าง noise ที่แทรกเข้ามาในสาย* (อ้างอิง Sound Reinforcement Handbook (2nd Edition), Written For Yamaha By Gary Davis & Ralph Jones, June 1989)

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series):

1.1 Symetrix = Prism 4×4 = เครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิทัลที่รองรับโปรโทคอลดานเต้ [Dante-enabled digital signal processor (DSP)]
1.2 Symetrix = ARC-3 = แป้นควบคุม DSP (DSP Keypad)
1.3 Yamaha = XH200 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 200 วัตต์ แบบโวลต์ไลน์ [High-impedance (70V/100V) Power Amplifier]
1.4 Yamaha = VXS8 = ลำโพงตู้ 8 นิ้ว (8″ Weatherproof Box Speaker)
1.5 Yamaha = VXC6 = ลำโพงเพดาน 6.5 นิ้ว (6.5″ Ceiling Speaker)

 

รูป 1A ร้านอาหาร All-day Dining “609 Kitchen”

 

รูป 1B ร้านอาหาร All-day Dining “609 Kitchen”

 

2. ร้านกาแฟ ชื่อ “The Deli” เป็นร้านกาแฟเล็กๆที่เป็นส่วนที่ยืดออกมา (extended area) จากห้องอาหาร 609 Kitchen จึงถือว่าเป็นพื้นที่เดียวกันกับห้องอาหาร เพราะฉะนั้นจึงเปิดเพลงเดียวกัน แต่สามารถใช้แป้นควบคุมเสียงเดียวกันได้ และเปลี่ยนเพลงได้หากในกรณีที่จำเป็น เช่น ร้านอาหารปิด แต่ร้านกาแฟเปิดให้สั่งกลับบ้าน (take-away) ได้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายในปี 2020 – 2021

3. ห้องเล่นเด็ก (Kids Club) ชื่อ “Treasures Kids Club” ประกอบไปด้วยระบบเล็กๆ เช่น ทีวี (TV ) กับเครื่องเล่นดีวีดี (DVD Player) แต่ยังคงไว้ซึ่งระบบ Background Music (BGM) ที่สามารถเปิด/ปิดได้

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series):

3.1 Australian Monitor = AMC+120 = มิกเซอร์แบบมีแอมปลิไฟเออร์ในตัว (Mixing Amplifier)
3.2 Yamaha = VXC4 = ลำโพงเพดาน 4 นิ้ว (4″ Ceiling Speaker)
3.3 Samsung = Generic TV 49″ = ทีวี 49 นิ้ว (49″ TV)
3.4 Pioneer = BDP-3140 = เครื่องเล่นดีวีดี (DVD Player)

 

รูป 3A “Treasures Kids Club”

 

4.1 ล็อบบี้ (Lobby) ของทางโรงแรม เป็นโถงสูงแบบกึ่งภายนอก (high-ceiling, semi-outdoor) ทางร้านจึงเลือกใช้ลำโพงเพดาน Yamaha รุ่น VXC4* ซึ่งคำนวนโดยใช้ SynAudCon’s Click-Rule [เป็นเครื่องมือจำพวกเครื่องคิดเลขแบบโต้ตอบ (interactive calculator) ที่ใช้ดีมากในการช่วยออกแบบระบบเสียง ทำโดย แพท บราวน์, (Pat Brown) จาก www.prosoundtraining.com] และยืนยันแล้วว่าให้พลังเสียงได้เกิน 95 dB-SPL บนพื้นที่ยืน/นั่งฟัง (listening pane) โดยที่ตัวลำโพงนั้นมีมุมครอบคลุมเสียง (Coverage Angle) อยู่ที่ 130 องศา ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง (Horizontal x Vertical) ซึ่งความดังนั้นสู้ได้อย่างสบายๆ กับลมทะเลและเสียงรบกวนพื้นหลัง (Background Noise) ที่อาจเกิดจากการพูดคุยของคน ซึ่งอาจจะดังได้ถึง 85 dB-SPL (C-weighted) และเนื่องด้วยบริเวณนี้ลูกค้าไม่ต้องการเสียงเพลงพื้นหน้า (Foreground Music) หากแต่ต้องการเสียงเพลงพื้นหลัง (Background Music) ระดับเสียงที่ดังได้กว่า 95 dB-SPL (ดังกว่า Background Noise ประมาณ 10 dB-SPL) ซึ่งเวลาเปิดใช้จริงก็อาจจะเปิดไม่เกิน 85 – 90 dB-SPL อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงถือว่าระดับความดังที่ระบบสามารถไปถึงได้นั้นเพียงพอแล้ว

ป.ล. สามารถเช็คสเปคของลำโพง Yamaha – VXC4 ได้

 

รูป 4A ล็อบบี้

4.2 ล็อบบี้เลานจ์ (Lobby Lounge) ชื่อ “R Bar” จะมีความพิเศษอยู่นิดหน่อย ตรงที่เป็นบริเวณบาร์ที่ให้แขกเข้ามานั่งคอยและสั่งเครื่องดื่มได้ (รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย) ดังนั้นพื้นที่นี้ต้องการเสียงที่ “เต็ม” กว่าโซนล็อบบี้อยู่ประมาณนึง และเนื่องจากการที่ตำแหน่งฟังของคน (listening pane) นั้นอยู่ในระดับประมาณ 1.20 – 1.80 เมตร โดยที่เหนือจากนี้ขึ้นไปไม่จำเป็นต้องยิงเสียงขึ้นไป ดังนั้นการเลือกใช้ลำโพงแบบ column array (ลำโพงเรียงแถวแนวตั้ง) ซึ่งให้มุมกระจายเสียงแนวนอนที่กว้างและแผ่ออก ในขณะที่มุมครอบคลุมแนวตั้งนั้นถูกจำกัด จึงเป็นชนิดของลำโพงที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่นี้ เพื่อให้เสียงนั้นพุ่งตรง (focus/concentrate) ไปที่บริเวณผู้ฟังที่อยู่ในโซนของ “R Bar” เท่านั้น

ลำโพงที่ถูกเลือกเพื่อการนี้คือ JBL = CBT70J และ 70JE (Extended Bass Control Module) ซึ่งสามารถควบคุมการแผ่กระจายของเสียง (pattern control) ที่ลงได้ถึง 400Hz [ประมาณ กลาง-ต่ำ (mid-low)] และสามารถผลิตเสียงเบส (bass/low-end) ได้เพิ่มเติมจาก 60Hz (ในรุ่น 70J) เป็น 40Hz (รุ่น 70J ประกอบกับรุ่น 70JE)

นอกจากนั้น R Bar ยังมีบูธดีเจ (DJ booth) เพื่อให้ดีเจนำระบบเครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือซีดี (Vinyl/CD turntable) ของตัวเองมาเปิดแผ่นตามใจ เพื่อสร้างบรรยากาศให้กับโซนนี้รวมไปถึงล็อบบี้โดยรวมได้ ซึ่งเพลงที่ดีเจเปิดนั้นสามารถเชื่อต่อกับระบบ BGM หลักได้

และภายในล็อบบี้ยังมีลำโพงในสวน (garden speaker) เพื่อให้เสียงจากที่พื้นเพื่อสร้างบรยากาศให้เหมือนเสียงโอบล้อมทั้งพื้นที่จากทั่วทุกมุม

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series):

4A. Symetrix = Prism 12×12 = เครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิทัลที่รองรับโปรโทคอลดานเต้ [Dante-enabled digital signal processor (DSP)]
4B. Symetrix = ARC-3 = แป้นควบคุม DSP (DSP Keypad)
4C. Yamaha = XH200 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 200 วัตต์ แบบโวลต์ไลน์ [High-impedance (70V/100V) Power Amplifier]
4D. Yamaha = VXC4 = ลำโพงเพดาน 4 นิ้ว (4″ Ceiling Speaker)
4E. Yamaha = P2500S = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 250 วัตต์ แบบโอมห์ (Low-impedance 250W Power Amplifier)
4F. Yamaha = PX5 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 500 วัตต์ แบบโอมห์ (Low-impedance 500W Power Amplifier)
4G. Bose = FreeSpace SP24 = เครื่องประมวลผลและควบคุมลำโพงสวน (Garden Speaker Controller)
4H. Bose = FreeSpace360P Series 2 = ลำโพงสวน (Garden Speaker)
4I. JBL = CBT70J + CBT70JE = ลำโพงเรียงแถวแนวตั้งพร้อมลำโพงโมดูลเพิ่มและควบคุมเสียงต่ำ (Column Array + Extended Bass Module)
4J. Symetrix = xIn4 = เครื่องรับสัญญาณเสียงแปลงเป็นดานเต้ (Dante Break-in Box)

 

รูป 4A สเปคของ JBL = CBT70J+70JE

 

รูป 4B JBL = CBT70J+70JE ติดตั้งแล้วที่ “R Bar”

5. แกรนด์บอลรูม (Grand Ballroom) หลังจากผ่านกระบวนการรับความต้องการของลูกค้า (needs analysis) และรีวิวงานออกแบบ (design review) กับผู้ออกแบบท่านอื่น หลายต่อหลายครั้ง ทางร้านจึงได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นระบบภาพและเสียง (audiovisual system) ที่สามารถรองรับการประชุม สัมมนา อบรม งานแต่ง พิธีหมั้น ฯลฯ ได้ในหลากหลายรูปแบบ (multiple configurations) ดังนั้นเพื่อทำให้ระบบเอื้อประโยน์ให้กับโรงแรมมากที่สุด ทางร้านเซ้นส์ดีจึงออกแบบให้ระบบนั้นมีความยืดหยุ่น (flexible) สูง

ระบบเสียง:
สามารถตั้งจุดควบคุม (control desk) ได้จากมุมไหนก็ได้ภายในห้องเนื่องจากระบบเสียงนั้น วิ่งอยู่บนโครงข่ายดานเต้ (Dante-based network) ซึ่งมีจุดให้เสียบสายแลนผ่านพอร์ท RJ45 ได้จากทั่วทุกมุมภายในห้อง ทำให้รองรับรูปแบบการจัดห้อง (room configuration) ได้ไม่จำกัด ส่วนลำโพงหลักที่ใช้สำหรับห้องเล็ก (sub-room) เวลาแบ่งห้องใช้นั้น ถูกออกแบบให้เป็นชุดเคลื่อนย้าย (portable set) กล่าวคือ นำมาตั้งบนขาตั้งในกรณีที่มีความต้องการใช้เท่านั้น (on-demand deployment) และเจ้าหน้าที่ระบบโสตทัศนูปกรณ์สามารถยกไปเก็บได้เมื่อไม่ได้มีความต้องการใช้ เพื่อทำให้ห้องนั้นปราศจากอุปกรณ์ให้มากที่สุดเมื่อไม่ได้มีการใช้ห้อง โดยทั้งห้องถูกครอบคลุมด้วยลำโพงเพดานขนาด 8″ กระจายอยู่รอบห้อง

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series):

5.1 Yamaha = CD-S300RK = เครื่องเล่นซีดี (CD-Player)
5.2 Yamaha = Tio1608-D I/O = ดานเต้สเตจบ็อกซ์ (Dante Digital Stage Box)
5.3 Yamaha = TF1 = เครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบดิจตอล (Audio Digital Mixer)
5.4 Yamaha = NY-64D = การ์ดดานเต้ (Dante Card)
5.5 Symetrix = Jupiter 8 = เครื่องประมวลผลสำหรับสัญญาณเสียง [Digital Signal Processor (DSP)]
5.6 Symetrix = ARC-3 = แป้นควบคุม DSP (DSP Keypad)
5.7 Yamaha = XH200 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 200 วัตต์ แบบโวลต์ไลน์ [High-impedance (70V/100V) Power Amplifier]
5.8 Yamaha = VXC8 = ลำโพงเพดานขนาด 8 นิ้ว (8″ Ceiling Speaker)
5.9 Yamaha = DSR112 = ลำโพง 12 นิ้ว แบบมีภาคขยายในตัว (12″ Active Speaker)
5.10 Yamaha = DSR118W = ลำโพงเสียงต่ำ 18 นิ้ว แบบมีภาคขยายในตัว (18″ Active Subwoofer)
5.11 Yamaha = MSP3 = ลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ (Studio Monitor)
5.12 Yamaha = RH5Ma = หูฟังแบบครอบหู (Over-The-Ear Headphone)

ระบบภาพ:
เนื่องจากทั้งห้องแกรนด์บอลรูมสามารถแบ่งเป็นห้องย่อยได้ 2 ห้อง ระบบภาพจึงประกอบไปด้วยจอมอเตอร์ขนาด 250 นิ้ว สัดส่วน 16:10 จำนวน 2 จอ และ 300 นิ้ว สัดส่วน 16:10 จำนวน 1 จอ สำหรับเวลา(เปิด)ห้องใหญ่ โดยมีโปรเจคเตอร์ ความสว่างที่ 7,200 ลูเมนส์ (Lumens) ความละเอียดที่ WUXGA หรือ 1920 x 1200 ซึ่งเป็นความละเอียดระดับ Full High-Definition (Full-HD) โดยระบบภาพทั้งหมดทำการสลับและส่งสัญญาณไปบนสายแลน Cat6-FTP (หรือ STP ก็ได้) ผ่านโปรโทคอล HDBaseT ที่มีเครื่องสลับสัญญาณภาพพร้อมปรับความละเอียดในตัว (Scaling Matrix Switcher) 1 ตัวทำหน้าที่เป็นสมองของระบบ โดยที่ให้ความละเอียด Full-HD ตลอดการส่งและสลับสัญญาณภาพในระยะไกลโดยไม่เกิดการสูญเสียคุณภาพของสัญญาณภาพ (no loss of video signal integrity)

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series):

5.13 Kramer = VP-425 = เครื่องแปลงหัวต่อพร้อมปรับความละเอียดจาก VGA เป็น HDMI (VGA to HDMI Scaling Adapter)
5.14 Kramer = KW-14 = เครื่องส่งสัญญาณ HDMI แบบไร้สาย (HDMI Wireless Extender)
5.15 Kramer = WP-20 = แผงรับสัญญาณเข้าแบบ HDBaseT (HDBaseT Input Wallplate)
5.16 Kramer = VP-558 = เครื่องสลับสัญญาณภาพ HDMI พร้อมปรับความละเอียดในตัวสำหรับการนำเสนอ (HDMI Presentation Scaling Switcher)
5.17 NEC = PA723UG = เครื่องฉายภาพ [7,200 Lumens Projector, WUXGA (1920 x 1200) Resolution]
5.18 Vertex = A200 = ลิฟต์ยกเครื่องโปรเจคเตอร์ยาว 2 เมตร (2-Meter Projector Lift)
5.19 Verex = A360 = ลิฟต์ยกเครื่องโปรเจคเตอร์ยาว 3.5 เมตร (3.5-Meter Projector Lift)
5.20 Razr = ETPG-A300 = จอมอเตอร์สำหรับฉายภาพ (Motorized Projection Screen 300″, 16:10)
5.21 Razr = ETPG-A250 = จอมอเตอร์สำหรับฉายภาพ (Motorized Projection Screen 250″, 16:10)

 

รูป 5 Grand Ballroom

6. ห้องประชุม (Meeting Rooms 1-3)

ระบบเสียง (โดยรวม)

สำหรับห้องประชุมนั้น ลูกค้ามีความชัดเจนว่าไม่ต้องการให้ห้องนั้นถูกจำกัดด้วยการจัดเตรียมห้องในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง (fixed room configuration) โดยที่ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยน “setup” ของห้องได้ตลอด ทางร้านจึงเลือกใช้ชุดประชุมแบบไร้สาย 2.4GHz ซึ่งสามารถจัดเตรียมโดยใช้กี่ชุดก็ได้ โดยสามารถปรับตามจำนวนของผู้เข้าร่วมประชุมได้เลย และเนื่องด้วยห้องนั้นมีความยืดหยุ่นสูง (flexible) ลูกค้าจึงอยากได้แค่ลำโพงเพดานโดยที่ไม่ต้องการลำโพงหลัก (main speaker) เนื่องจากทิศทางของห้องอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นครั้งๆไป

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series) (โดยรวม):

6.1 Televic = Confidea CD G3 = ชุดประชุมไร้สายตัวประธานพร้อมก้านไมค์ 40 ซม. (Chairman Wireless Conference Unit + 40CM Gooseneck Microphone)
6.2 Televic = Confidea DD G3 = ชุดประชุมไร้สายตัวผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมก้านไมค์ 40 ซม. (Delegate Wireless Conference Unit + 40CM Gooseneck Microphone)
6.3 Televic = Confidea WCAP G3 = ตัวเชื่อมต่อสัญญาณชุดประชุมไร้สาย (Wireless Conference Access Point)
6.4 Australian Monitor = Getup = ตัวแปลงสัญญาณจาก unbalanced เป็น balanced (Unbalanced-to-Balanced Converter)
6.5 Atterotech = unD6IO = แผงรับสัญญาณดิจิตอลดานเต้แบบติดผนัง (Dante Digital Audio Wallplate)
6.6 Symetrix = Prism 8×8 = เครื่องประมวลผลสำหรับสัญญาณเสียงแบบดานเต้ [Dante Digital Signal Processor (DSP)]
6.7 Symetrix = ARC-3 = แป้นควบคุม DSP (DSP Keypad)
6.8 Yamaha = XH200 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 200 วัตต์ แบบโวลต์ไลน์ [High-impedance (70V/100V) Power Amplifier]
6.9 Yamaha = PX3 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 300 วัตต์ แบบโอมห์ (Low-impedance 300W Power Amplifier)
6.10 Yamaha = PA2030 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 60 วัตต์ แบบโวลต์ไลน์ [High-impedance (70V/100V) Power Amplifier]
6.11 Yamaha = VXC4 = ลำโพงเพดานขนาด 4 นิ้ว (4″ Ceiling Speaker)

ระบบภาพ (โดยรวม):

อย่างไรก็ตามสิ่งที่อาจจะเลี่ยงไม่ได้คือจอฉายภาพ และตำแหน่งโปรเจคเตอร์ที่มีความจำเป็นต้องถูกคงที่ (fixed) เอาไว้ หากเราต้องการคงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของงานตกแต่งภายใน (interior design integrity) ที่สะอาดและเรียบร้อย ทั้งนี้ลูกค้าสามารถดึงเอาจอทีวี 55 นิ้วมาใช้เป็นจอเสริมได้หากจำเป็น โดยที่ระบบภาพนั้นมีหัวใจอยู่ที่เครื่องสลับสัญญาณภาพ HDMI พร้อมปรับความละเอียดในตัวสำหรับการนำเสนอ (HDMI Presentation Scaling Switcher) ซึ่งทำหน้าบริหารจัดการการส่งภาพต่างๆไปมา

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series) (โดยรวม):

6.12 Kramer = VP-425 = เครื่องแปลงหัวต่อพร้อมปรับความละเอียดจาก VGA เป็น HDMI (VGA to HDMI Scaling Adapter)
6.13 Kramer = KW-14 = เครื่องส่งสัญญาณ HDMI แบบไร้สาย (HDMI Wireless Extender)
6.14 Kramer = WP-20 = แผงรับสัญญาณเข้าแบบ HDBaseT (HDBaseT Input Wallplate)
6.15 Kramer = VP-440 = เครื่องสลับสัญญาณภาพ HDMI พร้อมปรับความละเอียดในตัวสำหรับการนำเสนอ (HDMI Presentation Scaling Switcher)
6.16 Kramer = VP-558 = เครื่องสลับสัญญาณภาพ HDMI พร้อมปรับความละเอียดในตัวสำหรับการนำเสนอ (HDMI Presentation Scaling Switcher)
6.17 Kramer = VP-427A = เครื่องรับสัญญาณ HDBaseT (HDBaseT Receiver)
6.18 Samsung = Generic TV 55″ = ทีวี 55 นิ้ว
6.19 Epson = EB-4850WU = เครื่องฉายภาพ [4,000 Lumens Projector, WUXGA (1920 x 1200) Resolution]
6.20 Razr = EMW-A150 = จอมอเตอร์สำหรับฉายภาพ (Motorized Projection Screen 150″, 16:10)
6.21 Razr = EMW-A120 = จอมอเตอร์สำหรับฉายภาพ (Motorized Projection Screen 120″, 16:10)

 

รูป 6 Meeting Room

7. โถงพักคอยและจัดเลี้ยง (Pre-function, Event-hub) นั้นเป็นส่วนหนึ่งหรือโซนหนึ่งของห้องประชุม เนื่องจากใช้สำหรับรองรับการประชุมย่อยนอกรอบ (break-out meeting) และรับประทานของว่างและเครื่องดื่ม พื้นที่นี้จึงไม่มีอุปกรณ์เยอะมากแค่ลำโพงเพดานไม่กี่ใบ เพื่อให้เสียงเพลงพื้นหลัง (BGM) แก่แขกหรือผู้เข้าร่วมประชุมที่ออกมาพักคอยเท่านั้น

8. ห้องออกกำลังกาย (Gym) นั้นประกอบไปด้วย: A. โซนเครื่องเล่นยกน้ำหนัก (weight-lifting) และ B. โซนสตูดิโอการเรียนการสอน (studio) ซึ่งโซน;

A. นั้นจะเปิดเพลง BGM เท่านั้น และไม่ได้ใช้เสียงอื่นๆ ส่วนระบบภาพนั้นถูกฝังไปกับเครื่องเล่นยกน้ำหนัก (exercise equipment) แล้ว ซึ่งแต่ละเครื่องเล่นจะมีจอเล็กๆเป็นของตัวเอง ซึ่งระบบนี้จะถูกรวมอยู่ในขอบเขตงาน (Scope of Work) ของผู้ออกแบบงานระบบ [Mechanical, Electrical, Plumbing, (MEP)] หรือบางครั้งไอที [Information Technology (IT), (ในกรณีที่ใช้การส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)] เพราะฉะนั้นทางร้านเซ้นส์ดีจึงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาณภาพที่วิ่งไปอยู่บนเครื่องออกกำลังกาย

B. นั้นจะเป็นสตูดิโอสอนคลาสต่างๆ เช่น โยคะ เต้น ฯลฯ ดังนั้นจะต้องมีระบบเสียงให้ผู้ฝึกสอนใช้ขยายเสียงตัวเอง พร้อมเปิดเพลงจากภายในห้องได้ ห้องนี้จึงมีชุดระบบเครื่องเสียงแบบเคลื่อนย้าย (portable PA speaker system) 1 ชุด พร้อมไมโครโฟน

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series) (โดยรวม):

1. Australian Monitor = AMC+250 = มิกเซอร์แบบมีแอมปลิไฟเออร์ในตัว (Mixing Amplifier)
2. Yamaha = VXC8 = ลำโพงเพดานขนาด 8 นิ้ว (8″ Ceiling Speaker)
3. Yamaha = Stagepas600i = ชุดระบบเครื่องเสียงแบบเคลื่อนย้าย (Portable PA Speaker System)
4. Australian Monitor = Getup = ตัวแปลงสัญญาณจาก unbalanced เป็น balanced

9. ห้องสปา (Spa) ตามมาตรฐานของโรงแรม (brand standards) นั้น ห้องสปาจะใช้เพลงเดียวกันตลอดทั้งโซน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะให้ห้องสปาแต่ละห้องนั้นเลือกเพลงของตัวเอง และด้วยเหตุนี้เองทางร้านจึงสามารถใช้แป้นเร่ง/ลดเสียงแบบโวลต์ไลน์ธรรมดา (100V volume keypad) ได้ ซึ่งช่วยทำให้งบประมาณไม่พุ่งสูงเกินไปหากเทียบกับการใช้แป้นควบคุมแบบดิจิทัล (digital keypad)

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series):

1. Australian Monitor = AMC+250 = มิกเซอร์แบบมีแอมปลิไฟเออร์ในตัว (Mixing Amplifier)
2. Yamaha = VXC4 = ลำโพงเพดานขนาด 4 นิ้ว (4″ Ceiling Speaker)
3. Australian Monitor = WMA50CW = แป้นเร่ง/ลดเสียงแบบโวลต์ไลน์ธรรมดา (100V volume keypad)

10. ร้านอาหารบิสโทร ชื่อ “Pebbles Bar & Grill” สำหรับร้านอาหารนี้มีความทันสมัยและโมเดิร์น (modern) อยู่ค่อนข้างมาก การมานั่งรับประทานอาหารเย็นดูพระอาทิตย์ตกดินตอนค่ำๆทางผู้ออกแบบตกแต่งภายใน (interior designer) และผู้ออกแบบแสง (lighting designer) ต้องอาศัยการปรับบรรยากาศให้ดูมีความสนุกสนาน และให้ความรู้สึกที่จะอยากนั่งนานๆและพูดคุยพร้อมปาร์ตี้ไปด้วยกัน ทั้งกับเพื่อนฝูงและครอบครัว ดังนั้นเพื่อให้ระบบเสียงนั้นล้อไปกับบรรยากาศ (mood and tone) ของห้องนี้ ทางร้านเซ้นส์ดีจึงออกแบบระบบเสียงให้มีความ “เต็ม” เพื่อที่จะสร้างสรรค์บรรยากาศที่สนุกสนานไปพร้อมกันกับกิจกรรมปาร์ตี้ของแขกที่เข้ามานั่งรับประทานอาหาร ระบบลำโพงที่เลือกใช้จึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ (8 นิ้ว) พร้อมซับวูฟเฟอร์ (subwoofer) แบบติดเพดานขนาด 10 นิ้ว ที่จัดการบริหารการข้ามความถี่ (crossover) ระหว่างชุดลำโพงโดยเครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิทัลที่รองรับโปรโทคอลดานเต้ [Dante-enabled digital signal processor (DSP)]

ความพิเศษของร้านอาหารนี้คือสามารถรองรับการ “ปิดห้อง” เพื่อทำ “private karaoke party” เพื่อจัดงานเลี้ยงสังสรรค์แบบเป็นส่วนตัวพร้อมระบบร้องคาราโอเกะ และโปรเจคเตอร์พร้อมจอเคลื่อนที่ขนาด 120″ ให้สำหรับแขกที่ต้องการจัดงานเลี้ยงภายในบริษัท หรือจัดงานรองรับลูกค้าแบบเป็นส่วนตัวได้

ยี่ห้อและรุ่น (Brands & Series):

1. Symetrix = Prism 8×8 = เครื่องประมวลผลสำหรับสัญญาณเสียงแบบดานเต้ [Dante Digital Signal Processor (DSP)]
2. Symetrix = ARC-3 = แป้นควบคุม DSP (DSP Keypad)
3. Atterotech = unD6IO = แผงรับสัญญาณดิจิตอลดานเต้แบบติดผนัง (Dante-Digital Audio Wallplate)
4. Yamaha = XH200 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 200 วัตต์ แบบโวลต์ไลน์ [High-impedance (70V/100V) Power Amplifier]
5. Yamaha = VXS10ST = ซับวูฟเฟอร์ 10 นิ้ว (10″ Subwoofer)
6. Yamaha = VXS8 = ลำโพงตู้ 8 นิ้ว (8″ Weatherproof Box Speaker)
7. Yamaha = VXC4 = ลำโพงเพดานขนาด 4 นิ้ว (4″ Ceiling Speaker)
8. Yamaha = PX5 = เครื่องขยายสัญญาณเสียง 500 วัตต์ แบบโอมห์ (Low-impedance 500W Power Amplifier)
9. JBL = CBT70J + CBT70JE = ลำโพงเรียงแถวแนวตั้งพร้อมลำโพงโมดูลเพิ่มและควบคุมเสียงต่ำ (Column Array + Extended Bass Module)
10. Mbox = NET6000HD = เครื่องเล่นคาราโอเกะ (Karaoke Server)
11. Kramer = VM-2HXL = เครื่องกระจายสัญญาณ HDMI เข้า 1 ออก 2 (HDMI Distribution Amplifier 1:2)
12. Epson = EB-W31 = เครื่องฉายภาพ [3,200 Lumens Projector, WXGA (1280 x 800) Resolution]
13. จอขาตั้ง 120″ (120″ Tri-pod Projection Screen)

 

รูป 10B ร้านอาหารสไตล์บิสโทร “Pebbles Bar & Grill”

บทความอื่นๆ

Blog

งานซับเสียงโถงนั่งเล่นบ้านคุณเค

งานนี้ลูกค้า – คุณเค ต้องการที่จะลดเสียงก้องภายในโถงนั่งเล่นของครอบครัวลงด้วยความที่คุณเคมีความคุ้นเคยกับสภาพอะคูสติกของห้องอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นพอสมควร เนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ช่วงเวลานึง ซึ่งโดยมากห้องของบ้านเรือนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีพื้นผิวส่วนที่เป็นผิวแข็งน้อย และประกอบไปด้วยพื้นผิวนิ่ม เช่น เสื่อทาทา…

Read More »
Blog

งานซับเสียงห้องทำงาน บริษัท i-secure

หลังจากที่ทางทีมงานเซ้นส์ดีได้ทำการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงก้องให้กับห้องประชุม huddle space ที่มีการใช้ระบบ video-conference ไปแล้ว ทางร้านเซ้นส์ดีก็ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า i-secure ให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงก้องในห้องทำงานของผู้บริหารต่อเนื่องไปด้วยเลย เนื่องจากทางผู้บริหารก็มีการใช้งานระบบ video-conferencing อยู่ตลอด

Read More »